การแพ้ประชามติในข้อตกลงสันติภาพ...ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นสำหรับโคลอมเบีย
โดย Jorge Martín 05 October 2016
วันอาทิตย์ที่ 2
ตุลาคม ประชาชนชาวโคลอมเบียผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงได้ปฏิเสธข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับ
กองกำลังปฏิวัติแห่งโคลอมเบีย-กองทัพประชาชน
หรือเรียกย่อๆว่าฟาร์ก (FARC / Revolutionary Armed Forces of Colombia—People's Army) “เพื่อยุติข้อพิพาทและสร้างสันติภาพที่มั่นคง” จอร์จ มาร์ติน
ได้อธิบายถึงกระบวนการที่นำไปสู่การลงประชามติ และสิ่งนี้จะหมาย ถึงอนาคตของการต่อสู้ทางชนชั้นในโคลอมเบีย การลงคะแนน “ไม่”
ชนะเพียงเล็กน้อยเพียง 54,000 คะแนนจากเสียงทั้งหมด 13 ล้านเสียง
ซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิ์ที่น้อยที่สุดของการลงคะแนนเสียงในระดับชาติในระยะ
22 ปี ข้อตกลงระหว่างฟาร์ก
กับรัฐบาลโคลอมเบียได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก สหรัฐฯ
สหภาพยุโรป รวมไปถึงรัฐบาลของประเทศเวเนซูเอลลาและคิวบาเพื่อยุติสงครามที่ดำเนินมาเป็นเวลา
52 ปี อะไรคือเนื้อหาของข้อตก ลง?
ทำไมถึงมีการคัดค้าน?
และจะเกิดอะไรขึ้นในภายภาคหน้า?
ประวัติศาสตร์ของ ฟาร์ก
ขบวนการ ฟาร์ก
เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี 1964 แต่ทางเดินของมันต้องย้อนกลับไปสูเหตุการณ์ลุกขึ้นสู้
โบโกตาโซ (Bogotazo..มาจากคำว่า
"Bogotá"และต่อท้ายด้วย -azo ซึ่งหมายถึงความรุนแรงวุ่นวาย) ในกรุงโบโกตา เมื่อปี 1948 เหตุการณ์นี้ถูกจุดชนวนขึ้นจากการลอบสังหาร
นาย อีเลเซ เกตาน นักการ เมืองฝ่ายซ้ายที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมที่มีประชาชนนิยมอย่างกว้างขวาง นาย เกตาน
โดดเด่นขึ้นมาจากการที่เขาประณามการสังหารหมู่กรรมกรมากกว่า2,000 คน ของ บริษัท ยูไนเต็ด ฟรุต บานานา ที่นัดหยุดงานในปี
1928 โดยกองกำลังของรัฐบาล
เขาเป็นผู้นำมวลชนในการต่อสู้คัดค้านพรรรคเสรีนิยมและพรรคอนุรักษ์นิยม
โดยการตั้งพรรคสหพันธ์นักปฎิวัติฝ่ายซ้ายแห่งชาติ(Revolutionary Left
National Union /UNIR) และต่อมาเขาได้ตัดสินใจที่จะผลักดันให้ความคิดของเขาภายในพรรคเสรีนิยม
ปี 1946 เขาได้รับการคัดเลือกจากบรรดาพรรคฝ่ายซ้ายและพรรคเสรีนิยมปีกซ้ายให้เป็นตัวแทนในเข้า
ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีโดยแข่งขันกับตัวแทนที่เป็นทางการของพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคเสรีนิยม ได้คะแนนเป็นลำดับ 3
แต่ในพื้นที่ชนบทเขากลับเป็นผู้ที่ชนะคะแนนเสียงจากการสนับสนุนของกรรม และชนชั้นกลาง เนื่องจากเขาโจมตีพวกอภิสิทธิ์ชน โดยมีนโยบายเพื่อความเป็นธรรมในสังคม..ปฏิรูปการเกษตร
และคัดค้านจักรวรรดินิยม
เหล่าผู้นำของFARC ระหว่างการเจรจาสันติภาพที่
คากูยัน 1998-2002 - Photo: DEA Public Affairs.html
ปี 1947 พรรคเสรีนิยมได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกสภาและเสียงส่วนใหญ่ในพรรคเสรีนิยมเป็นผู้สนับสนุน
เกตาน
นั่นย่อมหมายถึงว่าเขาได้เป็นผู้นำพรรคและเป็นตัวแทนพรรคในการแข่งขันชิงตำ แหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี
1950 บรรดาอภิสิทธิ์ชนต่างมีความตื่นตระหนกและคาดหมายว่าเกตานจะได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจ
ปฏิบัติการด้วยความรุนแรงเริ่มขึ้นด้วยการลอบสังหารบรร ดาแกนนำการเคลื่อนไหวของเกตาน วันที่
9 เมษายน 1948 เกตานก็ถูกลอบสังหารกลางวันแสกๆในเมืองหลวงโบโกตา นำไปสู่การจลาจลประท้วงรัฐบาลรัฐบาลอนุรักษ์นิยมของประชาชนทั่วประเทศและกล่าวหาว่าเป็นการกระทำของรัฐบาล
ดังนั้นจึงตามมาด้วยสงครามกลางเมืองที่ไม่ประกาศระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคเสรีนิยมมาเป็นเวลาสิบปีที่รู้จักกันในนาม
“ลา วิโอเลนซา”(The
Violence)
ซึ่งพรรคเสรีนิยมได้ก่อตั้งหน่วยรบจรยุทธและกองกำลังป้องกันตนเองของชาวนาขึ้น พรรคคอมมิวนิสต์ก็มีบทบาทในการจัดตั้งภายในองค์กรป้องกันตนเองของชาวนาด้วย เพื่อตอบโต้กับกองกำลังพิทักษ์ขาวที่อื้อฉาวของบรรดาเจ้าที่ดิน
ปี 1957-58
ผู้นำพรรคเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมได้มีการเจรจาตกตงกันในกรณีพิพาทโดยมีการลงนามกันในข้อตกลงว่าด้วยการเป็นแนวร่วมแห่งชาติ ชาวนาจำนวนมากที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีพิพาทต่างไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับเนื่องจากพวกเขาเห็นว่าถูกทรยศจากบรรดาผู้นำ บางส่วนมีความประทับใจในการปฏิวัติของประชาชนชาวคิวบาเมื่อปี
1959 พันธมิตรระหว่างชาวคอมมิวนิสต์และกำลังจรยุทธิของฝ่ายเสรีนิยมก็ยังดำเนินการต่อสู้ต่อไปโดยการสถาปนา
“สาธารณรัฐ มาเควตาเลีย” ขึ้น
ซึ่งความจริงเป็นเพียงพื้นที่เล็กๆที่พิทักษ์โดยกองกำลังติดอาวุธแค่ 44
คน ภายใต้การนำของ มานูเอล มาารูอันดา “ทิโรฟิโฮ”
และ จาโคโบ อารีอัส เป็นเรื่องที่เปี่ยมอันตรายและมหัศจรรย์ยิ่งที่กองกำลังกระจิดริดนี้
เคลื่อนไหวอยู่ท่ามกลางวงล้อมของกองทัพรัฐบาล
เป็นการนำไปสู่การก่อตั้งกองกำลังปฏิวัติแห่งโคลอมเลีย(FARC) ในปี 1964
นโยบายของพวกเขาได้แก่การต่อสู้เพื่อการปฏิรูปเกษตรกรรมโดยผ่านการยึดที่ดินที่ว่างเปล่า(ของเจ้าที่ดิน)แล้วแบ่งสรรให้แก่ชาวนา
ดังนั้น.....กองกำลังจรยุทธของ
ฟาร์ก จึงมีรากฐานและเงื่อนไขทางสังคมที่ดำรงอยู่ตลอดมาในโคลอม เบีย :- ความแตกต่างกันอย่างมากมายในการกระจายที่ดินและความโหดเหี้ยมของเจ้าที่ดินและรัฐ(จากการสนับสนุนอย่างเต็มที่โดยจักรวรรดิ์นิยมอเมริกา) กรณีเช่นนี้..ส่วนใหญ่แทบจะไม่เคยมีการเปลี่ยน
แปลงแต่อย่างใดมาเป็นเวลา 5 ทศวรรษ ตั้งแต่มีการก่อตั้ง ฟาร์ก
มาตลอดระยะเวลายายาวนาน ประ
วัติศาสตร์ที่ล้มเหลวในความพยายามเจรจาตกลงกันเรื่องสันติภาพระหว่างรัฐบาลโคลอมเบียกับขบวน
การฟาร์กและกลุ่มจรยุทธิ์ต่างๆก่อนหน้านี้มีบทบาทสำคัญด้วย ปี 1985-86 ฟาร์กและองค์กรปีกซ้าย ต่างๆได้พยายามก่อตั้งองค์กรทางการเมือง
แพทริโอติค ยูเนียน (UP)ที่ถูกกฎหมายขึ้นมาเพื่อเป็นส่วน หนึ่งในการเจรจากับประธานาธิบดี
เบตันเคอร์ พรรค UP ได้กลายมาเป็นพรรคการเมืองอันดับสามของประเทศไปอย่างรวดเร็วได้รับการสนับสนุนจากบรรดากรรมกรและชาวนาอย่างมากมาย ชนชั้นปกครองไม่อาจให้เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้น
ในช่วงระนะเวลาสั้นๆ..ตัวแทนพรรคผู้สมัครแข่งขันประธานาธิบดี
2 คน สมาชิกรัฐสภา 8 คน ส.ส.13 คน
สมาชิกสภาท้องถิ่น70 คน นายกเทศมนตรี 11 คน และสมาชิกพรรคอีก 3500
คนถูกลอบสังหาร พร้อมๆกับการรณณรงค์ที่เรียกว่า
“เต้นรำแดง” ที่ดำเนินการไปพร้อมๆกับการเข้าร่วมของรัฐและกลุ่มติดอาวุธกึ่งทหารเพื่อยับยั้งป้องกันการเติบใหญ่ของพรรค
UP ปี
1990 การแยกเจรจาสันติภาพนำนำไปสู่การวางอาวุธของกลุ่มนักรบกองจรยุทธ M19 เพื่อเข้าสู่การเลือก ตั้ง แต่ คาร์ลอส ปิซซาโร
ตัวแทนผู้สมัครแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของกลุ่ม ถูกฆ่าตายกลางวันแสกๆในกรุงโบโกตา โดยมือปืนรับจ้าง
อัลฟองโซ คาโน ผู้นำ FARC ที่ถูกลอบสังหาร
Photo: US State Department/Public DomainIn
พลวัตรของกองทัพกองจรยุทธิขนาดใหญ่คือความจำเป็นในด้านเงินทุน..ผลักดันให้ฟาร์กใช้วิธีการที่ทำลายรากฐานการสนับสนุนของตนเองด้วยการจัดเก็บภาษีด้านธุรกิจต่างๆ(รวมไปถึงการผลิตและการลำเลียงยาเสพย์ติด)ในพื้นที่ๆพวกเขาเคลื่อนไหวอยู่..
ก่อการร้ายด้วยการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆและแม้แต่เป้าหมายทางพลเรือน..ลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่และอื่นๆ.สิ่งเหล่านี้ได้ถูกรัฐนำไปใช้โฆษณา
ชวนเชื่อและรณณรงค์ด้วยความช่ำชอง
ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนชนชนชั้นต่างๆ
ในสภาพแวดล้อมที่ถูกปราบปรามอย่างหนักจาก
กองทัพ..ตำรวจ หน่วยสืบราชการลับ
และกองกำลังกึ่งทหาร( ทั้งหมดมีการร่วมมือกัน)....ส่งผลให้ยุทธวิธีของสงครามกองโจรที่มีประสิทธิภาพของฟาร์ก
ถูกตัดขาดจากการเคลื่อนไหวของกรรมกรและเยาวชนในเมือง
และแม้กระทั่งความสัมพันธ์ในส่วนของชาวนา ในทศวรรษที่ 1960 ในช่วงเวลาของการก่อตั้งองค์กร ประชากชนในชนบทของโคลอม เบียมีประมาณ 55% ของประชาชนทั้งหมด แต่ปัจจุบันได้ลดน้อยลงไปกว่า 25% ประชากรในชน บทจำนวนมากได้อพยพหลั่งไหลกันเข้าไปอาศัยในเมืองส่วนหนึ่งเนื่องจากความรุนแรง จากประมาณการมีถึง 7ล้านคน ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการปกติของการพัฒนาของระบบทุนนิยมซึ่งเกิดขึ้นในประ
เทศอื่นๆในลาตินอเมริกา

ประธานาธิบดี อัลวาโร
ยูริบี ได้รับเลือกตั้งในปี 2002 เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าถึงจุดเปลี่ยน
เขาเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของอภิสิทธิ์ชนที่เน่าเฟะของโคลอมเบีย..
จากพื้นฐานของเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์
พวกขนยาเสพย์ติดที่หนุนหลังโดยกองกำลังกึ่งทหาร เป้าประสงค์ของเขาค่อนข้างจะธรรมดา: คือการบดขยี้ทำลายขบวนการฟาร์กไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆที่มีความจำเป็น เขาต้องการ “ทำให้ประเทศเป็นที่ปลอดภัยของระบอบทุนนิยม” และด้วยเหตุผลนี้ทำให้เขาต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากกลุ่มทุนหลักๆของโค
ลอมเบีย รัฐบาลสหรัฐฯ และความร่วมมือจากนานาชาติ
แม้แต่ นสพ.วอชิงตัน
โพสต์ ก็ได้อธิบายถึงนโยบายของ อูริเบ
ในแง่ที่น่ากลัวมากเช่น : “ด้วยการสนับสนุนจากสหรัฐฯ
รัฐบาลโคลอมเบียเริ่มตอบโต้ด้วยการเผาเรียบ
ฐานที่มั่นของ ฟาร์ก ในท้องถิ่นชนบทหลังจากประธานาธิบดี อูริเบ
ได้รับเลือกตั้งในปี 2002 กำลังทหารของรัฐบาลซึ่งมักจะตามมาด้วยกลุ่มติดอาวุธฝ่ายขวาโดยมีเป้าหมายต่อพลเรือนผู้ถูกสงสัยว่าเข้าข้างกลุ่มกบฎด้วยการสังหารหมู่ ชาวโคลอมเบียส่วนมากจะหลบหนีออกจากบ้านในระหว่างขั้นตอนแรกของแผนการโคลอมเบียมาก
กว่าในช่วงเวลาอื่นๆที่ความขัดแย้งดำเนินมากกว่ากึ่งศตวรรษ(แผนโคลอมเบีย
: วิธีที่วอชิงตันชอบที่จะเรียนรู้ในการเข้าแทรกแซงในละตินอเมริกาอีกครั้ง)
จากการร่วมมือกันของลัทธิกึ่งทหาร..แผนโคลอมเบีย...
การแทรกแซงของสหรัฐฯ และการแพร่ขยายของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในส่วนของกองทัพ มีผลกระทบต่ออย่างรุนแรงต่อความเข้มแข็งและสมรรถนะในการสู้รบของ
ฟาร์ก ที่จะดำเนินต่อไปได้
ในการปฏิบัติการกดดันอย่างต่อเนื่องนี้..ทำให้ผู้นำหลายๆคนถูกสังหาร
วาระของประธานาธิบดี อูริเบ
สิ้นสุดลงท่ามกลางความอื้อฉาวของระบอบ ”การเมืองแบบกึ่งทหาร”
ที่เชื่อมโยงเขาให้ใกล้ชิดกับกลุ่มพันธมิตรกองกำลังกึ่งทหาร.. การดักฟังนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามอย่างผิดกฎหมายโดยหน่วยราชการลับ
DAS ในที่สุดก็คือการ ”คาดการผิด”
ยังผลให้คนของกองทัพเข่นฆ่าพลเรือนและนำพวกเขาเข้าไปเป็นนักรบจรยุทธ
ยูริเบ ลงจากอำนาจในปี 2002
เมื่ออดีตรัฐมนตรีกลาโหมของเขานาย ซานโตส รับช่วงอำนาจต่อในฐานะประธานาธิบดีซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งคู่เป็นนักการเมืองชนชั้นนายทุนปฏิกิริยาที่มาจากและเป็นตัวแทนของชนชั้นที่ต่างกันของชนชั้นปกครองโคลอมเบียที่มียุทธศาสตร์ที่ต่างกัน ยูริเบ คือตัวแทนของเจ้าที่ดินและเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์...ที่มีปัญหากับชาวนาในท้องถิ่นชนบทซึ่งเป็นรากเหง้าของการก่อตั้งการสู้รบแบบกองโจร ทั้งคู่ได้สร้างและให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กองกำลังกึ่งทหารที่กระหายเลือด ใช้ความสยดสยองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเหล่าอภิสิทธิ์ชน ยุทธศาสตร์ในการบรรลุสันติภาพของพวกเขาคือการทำลายล้างเหล่านักรบจรยุทธในทุกวิถีทางที่จำ
เป็น ด้านหนึ่ง..ซานโต้ส มาจากครอบครัวนายทุนที่มั่งคั่งในโบโกตา
เป็นตัวแทนในปีกของชนชั้นปกครองที่มองว่าการสู้รบแบบกองโจรนั้นเป็นอุปสรรคต่อ”การพัฒนา”
ของระบอบทุนนิยมและการปล้นชิงของจักรวรรดิ์นิยมมิให้ก้าวต่อไปข้างหน้า เขาระลึกอยู่เสมอว่าถ้าไล่ต้อนฟาร์กให้เข้ามุมอับก็จะสามารถพิชิตชัยได้
ยุทธวิธีในการไปสู่สันติภาพของเขาคือการนำเหล่านักรบจรยุทธเข้ามาสู่ชีวิตพลเรือนตามปกติ
อีกด้านหนึ่ง..ขบวนการฟาร์กก็ตระหนักดีว่าภายหลังการต่อสู้มาอย่างยาวนานมากว่า
40 ปีพวกเขาก็ยังไม่สามารถเข้าใกล้เจตนารมณ์ได้
ในทางกลับกันกองกำลังของตนต่างลดลงอยู่เรื่อยๆ..ประชาชนที่ให้การสนับสนุนได้หดหายไป ส่วนบรรดาผู้นำต่างก็เลิกราไปคนแล้วคนเล่า...นี่จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานที่นำไปสู่การเจรจาสันติภาพเมื่อเร็วๆนี้..ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี
2012
ประสบการณ์ของการปฏิวัติโบลิวาเรียนในเวเนซูเอลลามีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ฟาร์กเข้าสู่
ยุทธศาสตร์ที่แตกต่างออกไป..โดยละทิ้งการต่อสู้ด้วยอาวุธและเข้าสู่การเคลื่อนไหวมวลชนและมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง สำหรับการชี้นำของคิวบาซึ่งเป็นตัวแทนในการทำข้อตกลงนี้
ได้แสดงให้เห็นถึงความปรารถนา(ของคิวบา)ที่จะเปิดทางสำหรับการสถาปนาความสัมพันธ์กับสหรัฐอีกครั้ง
ข้อตกลงสันติภาพประกอบด้วยอะไร?
ถ้าจะมองถึงรายละเอียดของข้อตกลงสันติภาพ เราสามารถมองเห็นเนื้อแท้ของมันคือการปลดอาวุธกองกำลังของฟาร์ก
เพื่อจะทำให้ประเทศมีความปลอดภัยสำหรับการลงทุนจากต่างชาติรวมถึงการเกษตรกรรมด้วย
ส่วนแรกของข้อตกลงได้แก่การปฏิรูปการเกษตร การแบ่งสรรที่ดินในโคลอมเบียมีความไม่เท่าเทียมกันมากเหลือเกิน ดังนั้นมันจึงเป็นรากเหง้าของความขัดแย้งหลักที่ทำให้เกิดการสู้รบแบบกองโจรขึ้นมามากกว่า
5 ทศวรรษ จากการสำรวจประชากรในภาคเกษตรกรรมพบว่าเจ้าที่ดินจำนวน
0.4 % ครอบ ครองที่ดินเพื่อการเกษตรถึง
46% ในขณะที่เจ้าของที่ดิน
70% ถือครองที่ดินสำหรับทำการเพาะปลูกได้แค่ 5% เท่านั้น ตลอดระยะ 20
ปีที่ผ่านมาที่ดิน 10 ล้านเฮคตาร์(62,500,000 ไร่) ถูกเปลี่ยนมือไปจากเจ้าของเดิมที่เป็นชาวนาขนาดเล็กโดยผู้ครอบครองหลักซึ่งได้แก่เจ้าที่ดินรายใหญ่ ในท้องถิ่นชนบท..ประชากร 65% มีชีวิตอยู่ใต้เส้นความยากจน(ในเมือง
30%) ในจำนวนนี้มีถึง 33% ที่ยากจนสุดขีด 60% ของชนบทไม่มีน้ำประปาใช้ และ19%ไม่รู้หนังสือ
เนื้อหาในข้อตกลงเต็มไปด้วยถ้อยคำและคำสัญญาที่สละสลวย แต่ไม่มีรายละเอียดที่เป็นรูปธรรม แสดงไว้ว่าจะก่อตั้งกองทุนที่ดิน 3
ล้านเฮคตาร์ภายใน 10 ปีข้างหน้าเพื่อจัดสรรให้แก่ชาวนา นั่นเท่า กับว่าเป็นเพียงจำนวน 1 ใน 3
ของที่ดินที่เอาไปจากชาวนา ในส่วนที่สองของข้อตกลงเกี่ยวกับการ ” เปิดประชาธิปไตย”
ประกอบไปด้วยข้อสัญญาที่โอ่อ่าโดยรัฐบาลโคลอมเบียประกาศ “สนับสนุนการเมืองหลายขั้ว” “สร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือ”
และ "ต่อสู้กับการกดขี่ข่มเหงของผู้นำพรรคและการเคลื่อนไหวทางการเมือง”
ส่วนที่สามเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการยุติข้อพิพาท..การหยุดยิง..และการวางอาวุธ นี่เป็นส่วนที่มีเนื้อหาสาระสำคัญมากที่สุดของข้อตกลง
เป็นการกำหนดขั้นพื้นฐานซึ่งฟาร์กจะกลายฐานะมาเป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎหมาย นักรบของขบวนการแต่ละคนจะได้รับเงิน
2 ล้านเปโซ (ประมาณ 23,000 บาท)เมื่อวางอาวุธ จะได้เข้าร่วมในโครงการลงทุนการผลิตมูลค่า
2,700 เหรียญสหรัฐฯ(ประมาณ 94,500
บาท) ซึ่งมีมูลค่าเทียบเท่ากับ 90% ของค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับ 2 ปี
การรณณรงค์ทางการเมืองของพรรคใหม่ในที่สาธารณะจะได้รับการประกันทางการเงินสำหรับการเลือกตั้งสองครั้งที่จะเกิดขึ้น
และรับประกันที่นั่งในสภาสูง 5
ที่นั่ง และอีก 5 ที่นั่งในรัฐสภาเป็นระ ยะเวลา2
สมัย ฟาร์ก จะต้องรวบรวมนักรบของตนในพื้นที่ต่างๆในระยะเวลา
180 วันในขณะที่กระ บวนการยอมมอบอาวุธกำลังดำเนินไป ข้อตกลงส่วนที่ 5 ได้ระบุไว้ว่าใครที่มอบอาวุธจะได้รับการนิรโทษกรรมในกรณี ”ความผิดที่เกี่ยวกับการกบฎ” และใครที่มีส่วนในการก่ออาชญากรรมในยามสง ครามหรือทำความผิดด้านสิทธิมนุษยชนจะถูกแยกดำเนินคดีเฉพาะส่วนความผิด..กระบวน
การมอบอา วุธจะอยู่ภายใต้การควบคุมร่วมกันของ
รัฐบาล ขบวนการฟาร์ก และสหประชาชาติ
ส่วนที่ 4 ของข้อตกลงได้กล่าวถึงปัญหายาเสพย์ติดที่ผิดกฎหมาย ข้อตกลงมุ่งไปยังการปลูกพืชทดแทน(ซึ่งค้านกับนโยบายปัจจุบันเกี่ยวกับการอบและรมควัน)
อย่างไรก็ตาม..เรื่องนี้คงไม่ใช่งานที่ง่ายนักในเมื่อความยากจนยังกระจายอยู่ไปทั่วในชนบท และยาเสพย์ติดก็ยังเป็นพืชที่สร้างกำไรให้อย่างงามมากกว่าทางเลือกอื่น
ข้อตกลงยังได้กล่าวถึงปัญหาของเหยื่อที่เกิดจากความขัดแย้งในส่วนที่
5 จะตั้งหน่วยงานขึ้นเป็นกรณีพิเศษให้เป็นไปตาม "ความเป็นจริง ยุติธรรม, แก้ไขและไม่มีการรื้อฟื้น" กระบวนการยุติธรรมประกอบด้วยคณะผู้พิพากษา24 คนในการทำข้อตกลงกับสมาชิกของ
FARC และองค์กรของรัฐ
นัก รบจรยุทธที่เคย
”ทำความผิดโดยเกี่ยวข้องกับการกบฏ”
จะได้รับการนิรโทษกรรม
ผู้ใดที่ทำความ ผิดในการทำสงครามหรือก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ.. ยอมรับสารภาพโดยให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับศาลพิเศษที่ก่อตั้งขึ้นจะได้รับโทษสูงสุดแปดปี..แต่จะถูกกักขังภายในบ้านแทนการจำคุกและจะไม่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ส่วนผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมือและพบว่ามีความผิดจะถูกลงโทษจำคุกสูงสุด
20 ปี ขบวนการฟาร์กได้ให้ความร่วมมืออย่างเป็นระบบ
และได้จัดการประชุมร่วมกับชุมชนที่มีการสังหารหมู่อย่างต่อเนื่องด้วยความมุ่งมั่นที่จะแสวงหาการอภัยโทษ
สุดท้าย..ส่วนที่ 6
ของข้อตกลงที่เกี่ยวกับการดำเนินการตรวจสอบและอนุมัติ ในส่วนนี้โดยทั่วไปเป็นข้อตกเกี่ยวกับด้านเทคนิคในการควบคุมดูแลของหน่วยงานระหว่างประเทศตามข้อตกลงดังกล่าวเกี่ยวกับการลงประชามติ(ที่แพ้ไป) และด้านอื่นๆในเรื่องเวลาและวิธีการที่แตกต่างกันในแง่มุมของข้อตกลงที่จะดำเนินการ
นี่คือสิ่งที่เขียนไว้ในสัญญาที่รัฐบาลโคลอมเบียและ
FARC ได้ร่วมกันลงนามอย่างเป็นพิธีการต่อหน้าสาธารณะและตัวแทนผู้ทรงเกียรติ์จากต่างประเทศเมื่อวันที่
26 กันยายน... มันหมายความว่าอะไร? โดยเนื้อแท้แล้ว..นี่คือข้อสัญญาที่รัฐโคลอมเบียตกลงใจโดยมีเงื่อนไขให้ฟาร์กยกเลิกการต่อสู้ด้วยอาวุธ รวมไปถึงการรวบรวมนักรบจรยุทธ์ทั้งหลายเข้าสู่การใช้ชีวิตแบบพลเรือน..การเปลี่ยนสภาพของขบวนการ
ฟาร์กไปสู่การเป็นพรรคการเมืองและให้มีการนิรโทษกรรมแกสมาชิกอย่างถ้วนหน้า
ฟาร์กต้องการอะไรที่นอกเหนือไปจากการละทิ้งการต่อสู้ด้วยอาวุธโดยที่สมาชิกจะไม่ถูกสังหารหมู่และความเป็นไปได้ที่จะรักษานโยบายของตนโดยผ่านปัจจัยที่ถูกกฎหมาย รัฐโคลอมเบียมีความปรารถนา
ที่จะยุติความขัดแย้งเพื่อสร้างเงื่อนไขที่ดีกว่าสำหรับการเอื้อประโยชน์ให้แก่ทุนนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท รวมถึงการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
แน่นอน..ข้อตกลงไม่อาจแก้ปัญหาได้ในทุกๆเรื่องที่เคยเป็นปัจจัยหลักในการนำไปสู่การก่อตั้ง
FARC
(โดยเฉพาะปัญหาการปฏิรูปเกษตรกรรม)
สำหรับเรื่องการยุติความรุนแรงทางการเมืองนี่ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสัยอยู่เช่นเดียวกัน หลังจากเจรจากันมาตลอด 10 ปี
ในประเด็นการยกเลิกกองกำลังกึ่งทหาร
กลุ่มเหล่านี้ก็ยังเกิดขึ้นอีกภายใต้หน้ากากที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นที่รู้กันในนาม “บาคริมส์”
(แก๊งอาชญากร)
ยังทำการเคลื่อนไหวอยู่และลอบสังหารผู้นำสหภาพแรงงานและนักเคลื่อนไหวชาวนา พร้อมกับโจมตีชุมชนชาวนาในนามของชนชั้นนายทุนและเจ้าที่ดินใหญ่
ปัญหาที่เพิ่มขึ้นมาของ
ฟาร์ก
คือความเป็นจริงที่ว่ายุทธศาสตร์การเมืองของผู้นำคือหนึ่งในขั้นตอนการปฏิวัติ พวกเขามักจะยืนยันแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตรกับบรรดาผู้รักชาติทั้งหมดในระดับกว้างทั่วประเทศอยู่เสมอ
(ซึ่งพวกเขารวมเอาชนชั้นนายทุนและเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ส่วนหนึ่งเข้าไว้ด้วย) เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาของระบบทุนนิยมแบบจำกัดขอบเขต
ประธานาธิบดีฮวน มานูเอล ซานโตส
กับฮิลลารี คลินตัน -
Photo: US State Department/Public Domain
จากสภาพที่เป็นจริง.....มันไม่ได้สอดรับกับระบบการจัดการที่พวกเขาได้รับมรดกมาจากลัทธิสตาลินเลย สำหรับชนชั้นปกครองพวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญแต่อย่างใดหรือพร้อมที่จะตระหนักถึงการปฏิรูประบบเกษตรกรรมอย่างจริงจังและวางพื้นฐานสำหรับการพัฒนาความก้าวหน้าของประเทศและการปกป้องอธิปไตยของชาติ
ชนชั้นปกครองของโคลอมเบียนั้นมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอยู่(การประทะกันในการเดินขบวนระหว่าง
ยูริเบ และ ซานโตส ในการลงประชามติ) แต่ในขณะเดียวกันฝักฝ่ายทั้งหลายต่างก็มีความหวาดกลัวต่อการเคลื่อนไหวปฏิวัติของกรรมกรและชาวนา
จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งถ้าหากการเปลี่ยนแปลงจะเป็นการเคลื่อนไหวนำไปสู่การก่อตัวของพรรคการเมือง ที่บรรดาผู้นำต่างก็ต่อต้านนโยบายที่อ่อนปวกเปียกของนักปฏิรูป
ในอดีตเราได้เห็นในหลายๆกรณีมาก่อนที่การเคลื่อนไหวจรยุทธกลายมาเป็นการเคลื่อนไหวทางการ
เมือง
โดยผู้นำของพวกเขาได้ปกป้องนโยบายสังคมประชาธิปไตยแบบอ่อนๆ
หรือในอีกหลายกรณีที่ยอมเข้าร่วมในทุกๆนโยบายกับชนชั้นนายทุน (กรณีของ
โจอาคิม วิลยาโลโบส จาด เอล ซัลวาดอร์) นัยยะของเรื่องนี้เราได้เห็นกันอยู่แล้วระหว่างการเจรจาสันติภาพ.. เมื่อผู้นำของฟาร์กออกนอกลู่นอกทางโดยยืนยันว่าพวกเขาไม่ได้ต่อต้านการมีทรัพย์สินส่วนบุคคล ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเซอร์มานยา รอดดิโก ลอนโดโน
ทิโมเชนโก ถูกถามเกี่ยวกับมุมมองของนักรบจรยุทธในเรื่องระบอบทุนนิยมและวิสาหกิจเสรี เขาตอบว่า..”เราไม่เคยพูดเลยว่าเราต่อต้านทรัพย์สินส่วนตัว สิ่งที่เราคัดค้าน คือการแสวงหาผลประโยชน์ที่มากเกินไป...เราต่อต้านความไม่เท่าเทียมอย่างมากในการกระจายความ
มั่งคั่งที่เรามีอยู่ในโคลอมเบีย”
ในการให้สัมภาษณ์ครั้งเดียวกันเขายังได้อธิบายว่า
ขบวนการฟาร์กได้พบปะกับนักธุรกิจชาวโคลอม เบียที่มีชื่อเสียงในกรุงฮาวานาซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาสันติภาพ
เขากล่าวว่า..”พวกเขาพึงพอใจในคำอธิบายที่ให้ไปเกี่ยวกับกระบวนการที่จะดำเนินไปในอนาคต กระบวนการนี้ไม่ได้มีเป้า หมายในการต่อต้านนายจ้าง” ทิโมเชนโก ยังให้คำอธิบายอีกว่า..”สิ่งที่เราต้องการคือประเทศโค
ลอมเบียที่มีการพัฒนา พัฒนาปัจจัยการผลิต
เรามีความจำเป็นในการช่วยอุตสาหกรรมของชาติบนความมั่งคั่งของเราเอง”
การลงประชามติ
การได้รับชัยชนะในการลงประชามติในข้อตกลงสันติภาพสร้างความประหลาดใจแก่ทุกคน ข้อคิดเห็นของโพลหลักๆต่างก็ให้ผ่าน(yes)ด้วยคะแนนเสียงมากกว่าสองต่อหนึ่ง ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากปีกซ้ายส่วนใหญ่ในพรรคของ
Uribe FARC, คิวบาและเวเนซุเอลา สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงสมเด็จพระสันตะปาปาด้วย
ส่วนฝ่ายที่คัดค้าน(NO)
ส่วนมากถูกครอบงำโดย ยูริเบ ประธานาธิบดีคนก่อนที่ต่อต้านข้อตกลงสันติ
ภาพโดยรณณรงค์ปลุกผีคอมมิวนิสต์อย่างบ้าคลั่ง
เขาอ้างว่าข้อตกลงจะนำไปสู่ระบอบเผด็จการแบบ “คาสโตร-ชาวิสตา” (Chavista /ชาวิสตา คือกลุ่มมวลชนที่นิยมอดีตประธานาธิบดี ฮูโก
ชาเวช แห่งเวเนซูเอลลา)..และในไม่ช้า ทิโมเชนโก ผู้นำของฟาร์ก
ก็จะกลายเป็นประธานาธิบดี..และเหนือสิ่งอื่นใดเขาเป็นผู้ชื่นชอบสันติภาพ..แต่(การเจรจาสันติภาพ)คือการยอมจำนนต่อพวกกบฏฟาร์ก
ผลประชามติออกมาใกล้เคียงกันมาก จากผู้มาลงคะแนนเสียงเพียง 37.43% (13ล้านเสียงจากผู้มีสิทธิ์ 34.9
ล้านเสียงของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง) โหวต NO 50.21%
โหวต YES 49.78%
เป็นการลงคะแนนที่ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี
ซึ่งไม่ห่างจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกเมื่อปี 2014
อุปสรรคอย่างหนึ่งคือผลจากพายุเฮอริเคน
แมทธิว
ที่พัดเข้าสู่พื้นที่แถบชายฝั่งทะเลคาริบเบียนของประเทศในวันลงประชามติ การลงประชาติจึงถูกรบกวนจากอุปสรรคในเขตต่างๆที่คะแนนเสียง
YESชนะแต่ผลที่ออกมากลับน้อยกว่าที่คาดหมายไว้มาก
อย่างไรก็ตามจากเหตุรบกวนนี้ทำให้คะแนนออกมาสูสีกัน แต่คำถามสำคัญอยู่ที่ว่า..ทำไมประธานาธิบดี
ซานโตส และกลุ่มที่ต้องการให้มีการผ่านประชามติจึงไม่ระดมการเคลื่อนไหวรณณรงค์ในเขตเลือกตั้งเหล่านี้?
การเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบสองปี2014 (สีเขียว ซานโตส สีแสด ซูลัวกา ) -
ถ้าจะดูผลจากที่แสดงบนแผนที่ จะเห็นว่ามีความใกล้เคียงกันมาก เหมือนที่เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่สองในปี
2014 ระหว่างซานโตสกับ ซูลัวกา
ที่ยูริเบให้การสนับสนุน
พื้นที่บริเวณชายฝั่งและติดพรมแดนจะโหวต “ผ่าน” ในขณะที่พื้นที่ส่วนกลางจะออกเสียง “ไม่ผ่าน”
พื้นที่ส่วนกลางเหล่านั้นเคยลงคะแนนเสียงให้ ซูลัวกา ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่สอง
ยก เว้นเขตซานตาดาร์ และซานตาดาร์เหนือ ที่เคยลงคะแนนให้ซ่านโตสเมื่อปี 2014 แต่กลับโหวต “ไม่ผ่าน” ในการลงประชามติ พื้นที่แถบนี้มีพรมแดนติดกับเวเนซูเอลลา
ซึ่งกำลังประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วงและเกิดปัญหาความขาดแคลนอย่างรุนแรง บางทีสถานการณ์ของเวเนซูเอลลา อาจจะมีบทบาทสำคัญต่อการพิจารณาในการสร้างข่าวลือที่น่าตื่นตระหนกของ
ยูริเบ เกี่ยวกับระบอบเผด็จการของ “คาสโตร-ชาวิสตา. ก็เป็นได้
ในการลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีรอบที่สอง มีผู้มาลงคะแนนเสียงทั้งหมด 15.3
ล้านเสียง(คิดเป็น47.8% ของผู้ทีสิทธิ์) แต่ครั้งนั้นอยู่ที่ว่าปัญหาของการตกลงสันติภาพยังก้ำกึ่งกันอยู่ ซานโตสได้คะแนน 7.8 ล้านเสียง ขณะซูลัวกา คนของยูริเบ ได้ 7 ล้านเศษๆ
ถ้าจะเทียบผลครั้งนั้น(การเลือกประธานาธิบดี)กับการลงประชามติจะเห็นว่า ซานโตสมีคะแนนลดลงถึง 1.5 ล้านเสียงขณะที่ฝั่งยูริเบ
คะแนนลดลงไปห้าแสนคะแนน
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม “เห็นชอบ” จึงแพ้ เพราะว่าประชาชนไม่ เหตุได้มีความกระตือรือล้นที่จะไปลงคะแนน
เหตุบังเอิญที่มีพายุเฮอร์ริเคนนั้นก็เป็นปัจจัยอันหนึ่ง ที่สำคัญมากคือ..ในพื้นที่ๆได้รับผลกระทบรุนแรงระหว่างที่เกิดความขัดแย้งจะเป็นที่ๆมีคะแนนโหวต
“เห็นด้วย” ค่อนข้างสูงมาก
โดยเฉพาะในเขต โชโค 79% เคาคา 67% นารินโย 64 % พูตูมาโย 65.5 % และ วาอูเปส 78% ในเมืองโบฮายา ในเขตโชโค
ที่เกิดการสังหารหมู่ขึ้นเมื่อปี 2002 ในขณะเกิดการรบระหว่ากำลังกึ่งทหารและสมาชิกฟาร์ก
คะแนนโหวต “เห็นด้วย” มากถึง 95%
ส่วนที่คะแนนเสียงโหวต
“ไม่ผ่าน” คือพื้นที่ๆอยู่ภายใต้อิทธิพลและการควบคุมอย่างเข้มงวดของเครือ
ข่ายทางการเมือง..กองกำลังกึ่งทหาร ของ ยูบิเร
และโดยกลุ่มผลประโยชน์ของบรรดานายทุนและเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ ที่มีการต่อต้าน”คอมมิวนิสต์”
อย่างรุนแรง และต่อต้านซานโตส ด้วย
ผสมผสานไปกับปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้ว..เราจำเป็นต้องมีความเข้าใจต่อเศรษฐกิจของโคลอม
เบียเรื่องราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ถูกกระทบจากการพังทลายของราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันดิบของโคลอมเบียลดลงอย่างฮวบฮาบกว่า
50%ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ในบริบทนี้..ความคิดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเพิ่มสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการวางอาวุธของขบวนการฟาร์ก
ไม่ได้เป็นที่ถูกใจของชนชั้นนายทุนน้อยส่วนใหญ่
ซานโตส
นั้นเป็นประธานาธิบดีที่ไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมมากนัก...ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งฝ่ายขวาอย่างยูริเบ..และฝ่ายซ้าย
จากสหภาพแรงงาน นักศึกษา เกษตรกร
และการเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่กำลังเคลื่อนไหวต่อต้านนโยบายประหยัด-ตัดลด
และ การแปรรูปวิสาหกิจ .การขัดขวางโจมตีสิทธิประชาธิปไตยและการกดดันการเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างต่อเนื่อง ในบริบทนี้หลายคนเริ่มสงสัยต่อคำสัญญาของเขาในเรื่องการตกลงสันติภาพ
ประชาชนชั้นล่างอันไพศาลของโคลอมเบียมีความต้องการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนในเรื่องการถือครองที่ดิน..ความยากจน...การศึกษา..สาธารณสุข...ที่อยู่อาศัย..ความรุนแรงของรัฐ
เงินเฟ้อ..การละเว้นโทษให้แก่กองกำลังกึ่งทหาร และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงของกองทัพ ประชาชนต่าง
มองเห็นผลงานของซานโตสในเรื่องต่างๆเหล่านั้น และไม่สามารถนำพาตัวเองออกมาลงคะแนนเสียงได้
ซานโตสต้องการเพียงใช้การลงประชามติเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามกฎหมาย..แต่ก็ผลตรงกันข้ามอย่างที่ต้องการ กลายเป็นว่า ยูริเบ กลับเข้มแข็งขึ้น
อะไรต่อไป?
แม้ว่าด้านที่ลงคะแนนเสียงคัดค้านจะชนะประชามติแต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามีความจำเป็นจะต้องกลับไปสู่การต่อสู้ด้วยอาวุธอีก ขบวนการฟาร์กได้ประกาศไปแล้วว่าพวกเขากำลังเริ่ม
“ประกันคำพูดว่า..ไม่ใช้อาวุธ” ประธานาธิบดี ซานโตส
ยืนยันอีกครั้งว่าเขาต้องการให้ข้อตกลงเพื่อสันติภาพนี้ให้มีผลและเรียกร้องให้เป็น
”การเจรจาแห่งชาติ” ในขณะที่ยูริเบได้ประกาศออกมาว่าเขาไม่ได้คัดค้านสันติ
ภาพ..แต่เขาไม่เห็นด้วยกับข้อตกลง
แน่นอน..เรื่องนี้ยังคงเป็นสถานการณ์อันตราย
เป็นการกระหน่ำตีประธานาธิบดีซานโตสอย่างรุนแรงแม้ว่าไม่มีใครที่ต้องการให้กลับไปสู่สถานการณ์สงครามอีก...การยุยงปลุกปั่นโดยกลุ่มขวาจัด กลุ่มกองกึ่งทหาร ก็ไม่สามารถขัดขวางและจุดประกายของความเป็นปรปักษ์ขึ้นมาได้อีก
อะไรคือสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในขณะนี้ หาก ซานโตส จะร่วมมือกับ ยูริเบ ในการต่อรองบางแง่มุมของการเจรจาครั้งใหม่ ยูริเบต้องการจะทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการลงโทษฝ่ายนำของ
ฟาร์ก โดยต้องการให้ถูกลงโทษจำคุกและบรรดาผู้นำที่มีความโดดเด่นหลายคนของขบวนการให้พ้นไปจากการเลือกตั้งด้วย
ในส่วนของข้อเรียกร้องที่
ยูริเบ จงใจเยาะเย้ยถากถาง เขาจะใช้เล่ห์กลทุกชนิดเพื่อปกป้องบรรดาผู้นำหน่วยกองกำลังกึ่งทหารไม่ให้ต้องเผชิญหน้าตุลาการในข้อกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม
และ บางคนที่มีบทบาทสำคัญ จะต้องไม่ถูกส่งไปสหรัฐฯในฐานะผู้รายข้ามแดนซึ่งบางคนถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพย์ติด( ดู : ประวัติศาสตร์ลับ กำลังกึ่งทหารของโคลอมเบีย
และสงครามยาเสพย์ติดของสหรัฐฯ ).
ยูริเบ
กลัวว่าถ้าเมื่อพวกเขาถูกสอบสวนและมีความผิดในการละเมิดสิทธิมนุษยชน มันจะเปิดโฉมหน้าที่แท้จริงของผู้ที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่แก๊งติดอาวุธกึ่งทหาร ซึ่งบางเรื่องเขามีส่วนร่วมโดยตรง ยูริเบ
เรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในกองกำลังอาวุธที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งหมด
ขณะนี้การประชุมถูกกำหนดไว้เรียบร้อยแล้วรวมไปถึง ยูริเบและซานโตส เพื่อหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งดูเหมือนว่า ยูริเบ
จะถูกกดดันจากกลุ่มชนชั้นปกครองไม่ให้สร้างสถานการณ์ให้กลับไปสู่ความรุนแรงอีก
ทางด้าน ฟาร์ก
คงจะถูกบีบให้ยอมรับข้อตกลงไปก่อน
พวกเขาเริ่มทำลายวัตถุระเบิดไปแล้วส่วนหนึ่งแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ
และเตรียมการช่วยเหลือเหยื่อด้วยเงินทุนของตนเอง(บางเรื่องที่พวกเขาได้ปฏิเสธมาก่อน) พวกเขาไม่มีทางเลือกปฏิบัติให้เป็นอย่างอื่นได้และพร้อมที่จะดำเนินการไปตามแนวทางที่ได้ให้คำมั่นไว้ที่จะเลิกการต่อสู้ด้วยอาวุธ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่พวกเขาอาจจะต้องการนำปัญหาซึ่งถูกตัดทิ้งไปกลับเข้าสู่วาระการประชุมอีก
ในสถานการณ์ยังมีปัจจัยหลักๆอย่างอื่นอีก การรื้อฟื้นการเคลื่อนไหวของกรรมกร นักศึกษา
ชาวนา และชุมชนคนพื้นเมืองซึ่งใน 5
ปีหลังนี้ได้เกิดระลอกคลื่นการเคลื่อนไหวอยู่เสมอเช่นการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในปี
2011 การเคลื่อนไหวของชาวนาปี 2013
การนัดหยุดงานของผู้ปฏิบัติงานด้านความยุติธรรมในปี 2014 และปีก่อนหน้านี้เป็นการหยุดงานในระดับชาติมีผู้เข้าร่วมนับหมื่นๆในแต่ละท้องถิ่นคนเพื่อเพิ่มค่าจ้าง...เพื่อสิทธิ์ในการศึกษา ต่อต้านการให้สัมปทานเหมืองแร่ และป้องกันสิทธิของชาวนาและอื่นๆ
แม้ความขัดแย้งในระดับรัฐ..ระหว่างกองกำลังติดอาวุธกับนักรบจรยุทธิ์จะจบลง แต่การเคลื่อนไหวของมวลชนจะประทุขึ้นแทน ซึ่งจะเป็นเรื่องยากลำบากของรัฐบาลมากกว่าเรื่อง
“ จัดการกับผู้ก่อการ ร้ายฟาร์ก”
การสิ้นสุดของการต่อสู้ด้วยอาวุธในโคลอมเบียมิได้หมายความว่าการต่อสู้ทางชนชั้นจะจบลงไป หากแต่จะกลับกลายเป็นเรื่องที่ตรงกันข้าม