Saturday, January 7, 2017

พิชิต อัล กออิดะฮ์

พิชิต อัล กออิดะฮ์   โดยศ.ไมเคิล โชสซูดอฟสกี  13 ธันวาคม 2016
หมายเหตุบรรณาธิการ

สื่อกระแสหลักส่วนมากจะกล่าวหาว่ากองกำลังของรัฐบาลซีเรียได้กระทำสิ่งที่โหดเหี้ยมต่อพลเรือน โดยบรรยายถึงวิกฤตทางด้านมนุษยธรรมในเมืองอเลโป สิ่งที่พวกเขาไม่เคยกล่าวถึงเลยก็คือการยึดครองฟากตะวันออกของเมืองอเลโปเมื่อสี่ปีที่แล้วโดยกลุ่มก่อการร้าย อัล กออิดะฮ์  ที่เข้าไปให้การสนับสนุนกองกำลังของพวกกบฎฝ่าย “ต่อต้าน” รัฐบาลซีเรีย

กลุ่มก่อการร้ายได้ถูกอธิบายว่าเป็นเพียงเหยื่อความรุนแรงของรัฐบาลซีเรีย    ตั้งแต่เริ่มแรกแล้วความโหดร้ายทารุณได้ถูกกระทำโดยฝ่ายก่อการร้าย  และถูกกล่าวหาว่าเป็นการรกระทำโดยกองกำลังของ รัฐบาลซีเรีย   ยิ่งไปกว่านั้น..กลุ่มอัลกออิดะฮ์  ยังมีส่วนที่ต้องรับผิดชอบในการร่วมมือกับฝ่ายกบฏในความโหดเหี้ยมที่เกิดขึ้นมานับไม่ถ้วนโดยการฝึก ต่างได้รับการฝึกฝนและความสนับสนุนช่วยเหลือในด้านการเงินจากสหรัฐฯ-นาโต้ และกลุ่มพันธมิตรของตนรวมไปถึงซาอุดิ อาระเบีย   การ์ตา ตุรกี  และอิสราเอล

ความเป็นจริงถูกทำให้เป็นเรื่องตรงกันข้าม  กลุ่มก่อการร้ายต่างถูกสร้างภาพให้เป็นวีรบุรุษและ “นักรบแห่งเสรีภาพ”    การพิชิตกลุ่มก่อการร้ายถูกอธิบายว่าเป็นอาชญากรรมต่อต้านมนุษยชน    การปลด ปล่อย อเลโป ถูกเรียกว่า เป็นหายนะของมวลมนุษยชาติ   ส่วนผู้ที่กะเกณฑ์  ฝึกฝน.. และให้การสนับ สนุนทางการเงินแก่กลุ่มผู้ก่อการร้าย ต่างได้รับการสนับสนุนค้ำจุนโดย “สังคมระหว่างประเทศ” ว่าเป็นผู้พิทักษ์สันติภาพของโลก  ต่อมารวมไปถึงประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของสหรัฐฯ  สหราชอาณา จักร  ฝรั่งเศส และตุรกี ต่อสิ่งที่เรียกว่า “เป็นภาระหน้าที่ในการป้องกัน” (“Responsibility to Protect” /R2P).  โดย

-ตุรกีเป็นผู้ตระเตรียมฉนวนสำหรับกลุ่มก่อการร้ายในตอนเหนือของซีเรีย  ด้วยการระดมและฝึก ประ สานกับนาโต   ซาอุดิ อาระเบีย และ กาตาร์  เตรียมเงิน อาวุธที่ใช้ฝึกให้แก่ อัล กออิดะฮ์

-ฝ่ายบริหารของโอบามา ถูกสั่งให้มีการรณณรงค์ทางอากาศ  ที่การต่อต้าน อิสลามิก สเตท(ISIS-Daesh)โดยตรง

-ความร่วมมือกัน ที่นำโดยสหรัฐฯ (US-led coalition) คือการ  ปกป้องไอซิส และ ดาเอช   การโจมตีทิ้งระเบิดเป็นการทำลายโครงสร้างพื้นฐานของซีเรียและอิรัก เป็นส่วนหนึ่งของ “ปฏิบัติการต่อต้านผู้ก่อการร้าย”   ...ผู้ก่อการร้ายคือสหรัฐฯเอง     สื่อกระแสหลักต่างยกย่องสรรเสริญ  การโกหกที่กลายเป็นจริง

-อย่างเป็นทางการ..รณรงค์ต่อต้านการก่อการร้ายของ โอบามา คือการช่วยเหลือ อัล กออิดะฮ์ ให้กลายเป็นกลุ่ม “ฝ่ายเป็นกลาง” 

ทั้งหมดนั้นเป็นเหตุผลที่ดีสำหรับการสร้าง หุ่นอิสลามิก เสตท ขึ้นในกรุงดามัสกัส (เช่นเดียวกับในอัฟกานิสถาน)   เพื่อกระจาย “ประชาธิปไตยที่ Made in America “  ไปทั่วทั้งตะวันออกกลาง  ยึดครองและขยายแหล่งสำรองน้ำมันและแก๊ส  เปลี่ยนประเทศต่างๆให้เป็นเขตอิทธิพลเปิดของตนแผนชั่วร้ายในการส่งผู้ก่อการ้ายเข้าไปในซีเรีย ในนามทหารราบของกองกำลังฝ่ายพันธมิตรตะวันตกประสบความล้มเหลว   วันที่อเลโปได้รับการปลดปล่อย  คือวันที่แสนเศร้าของเหยี่ยวสงคราม !!
เราเป็นหนี้ต่อแหล่งข่าว South Front  ในด้านเอกสารต่างๆ  เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นในซีเรีย
ไมเคิล โชสซูดอฟสกี  13 ธันวาคม 2016
............................................
กองทัพซีเรียทำการปลดปล่อยเมืองอเลโป    รายงานปรากฏขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2016  ซึ่ง รัฐมนตรีป้องกันประเทศของซีเรียได้ประกาศในวันที่ 13 ธันวาคม 2016
กองกำลังของ  ฮิสบอลเลาะฮ์   ลิวา อัล คุดส์   กองพลน้อยเหยี่ยวทะเลทราย   ฮารากัท ฮิสบอลเลาะฮ์   อัล นูจาบา   และ SSNP (พรรคสังคมชาตินิยมซีเรีย/Syrian Social Nationalist Party)  และหน่วยกำลังที่สนับสนุนรัฐบาลได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือกองทัพซีเรีย ในปฏิบัติการครั้งนี้ ถ้าไม่มีพวกเขา   กองทัพซีเรียคงไม่อาจประสบผลสำเร็จได้   หน่วยรบพิเศษของรัสเซียในพื้นที่อเลโปก็มีความสำคัญมากที่เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ
วันที่ 12 ธันวาคม กองทัพและบรรดาพันธมิตรประสบความสำเร็จและมีเปรียบอย่างต่อเนื่องภายในอเลโป  สามารถยึดพื้นที่ใกล้เขตยึดครองของฝ่ายตรงกันข้ามได้     คืนที่ผ่านมากองกำลังที่สนับสนุนรัฐบาลเริ่มบุกเข้าโจมตีที่พื้นที่ยึดครองของศัตรูด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง
การโจมตีครั้งนี้ได้ผลักดันให้กองกำลังของกลุ่ม จาอิช อัล ฟาตาห์ และฟาตาห์ ฮาลาป  ต้องถอนกำ ลังออกจากเขตยึดครอง     โดยข้อตกลง..จะอนุญาตให้กองกำลังทั้งหมดถอนออกจากเขตตะวันออก ของอเลโปไปยังที่ราบอนาดานใกล้ภูเขาซิเม-ออน   หรือยอมจำนนต่อกองกำลังของรัฐบาลเพื่อได้รับการอภัยโทษ(ถ้าพวกเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่ทำต่อประชาชน)
โดยไม่คำนึงถึงข้อตกลงในขณะนั้น  กองกำลังบางหน่วยยังคงอยู่ในเมือง  แต่ก็ไม่สามารถแสดงออกถึงการต่อต้านกองทัพได้อย่างจริงจัง   ยุทธภูมิอเลโปได้เปลี่ยนไปเป็นปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยของเมือง    การสู้รบในอเลโปเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2012 เป็นเวลายาวนานกว่า 4 ปี   บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า..การปลดปล่อยเมืองอเลโปคือชัยชนะครั้งใหญ่ที่สุดของรัฐบาลในสงครามซีเรีย  กระนั้น..สงครามก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลง
กำลังทางอากาศของรัสเซียได้ทำการโจมตี ไอซิส ไปตลอดแนวถนนหลวงสาย พัลไมรา- ออมส์ โดยใส่ใจเป็นพิเศษกับพื้นที่ใกล้เคียงฐานทัพอากาศไทยาสและยอดเนินที่มีความสำคัญซึ่งถูกยึดครองโดย กลุ่มผู้ก่อการร้ายในพื้นที่
กองทัพซีเรียและกองกำลังป้องกันชาติ (National Defense Forces/ NDF) ได้ถอนออกจากเขตรอบนอกของพัลไมราไปยังฐานทัพอากาศไทยาส   เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกโจมตีขนาบโดยไอซิส   ขณะนี้ ฐานทัพอากาศไทยาส คือกุญแจสำคัญในพื้นที่ของกองทัพซีเรียที่สามารถตีโต้ความพยายามของไอ ซิสเพื่อพัฒนาความมีเปรียบ  ในทางกลับกัน  เป้าหมายของกองกำลังของรัฐบาลซีเรียคือการรวบ รวมกำลัง  เพื่อการเสริมกำลังและเตรียมปฏิบัติการยึดเมืองโบราณแห่งนี้(เมืองพัลไมรา)คืนจากไอซิส
การโจมตีเมืองพัลไมราของไอซิสได้กลายเป็นข่าวกระแสหลักในการโฆษณาโจมตีรัฐบาลซีเรียและรัส เซีย   ผลของชัยชนะทางยุทธศาสตร์ในอเลโปได้ถูกปกปิดซ่อนเร้นภายใต้การรายงานข่าวเชิงลบถึงความล้มเหลวในพัลไมรา       ในสถานการณ์เช่นนี้..สื่อกระแสหลักและผู้อุปถัมภ์จะพัฒนาปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับพัลไมราเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจต่อการกวาดล้างกลุ่มอัล กออิดะฮ์ และกลุ่มที่มีความเกี่ยว ข้องสัมพันธ์กันในอเลโป      ดูเหมือนว่าฝ่ายนำของไอซิสและหุ้นส่วนได้วางแผนและใช้วิธี ปฏิบัติการด้านข่าวสาร ล่าสุดเกี่ยวกับความสำเร็จ    เพื่อไม่ให้รัฐบาลซีเรียและพันธมิตรได้เปรียบในด้านข่าวสารและทาง การทูต



Wednesday, December 14, 2016

เรื่องที่น่าตื่นตระหนกห้าประการเกี่ยวกับสงครามกับจีนที่กำลังใกล้เข้ามา

 เรื่องที่น่าตื่นตระหนกห้าประการเกี่ยวกับสงครามกับจีนที่กำลังใกล้เข้ามา 
 จากภาพยนตร์สารคดี โดย จอห์น   พิลเกอร์  10 Dec, 2016  



จอห์น พิลเกอร์ นักหนังสือพิมพ์กล่าวว่า      ฐานทัพของอเมริกานับสิบๆแห่งที่ตั้งโอบล้อมจีนอยู่เป็นประหนึ่ง “บ่วงแร้วขนาดใหญ่” และประวัติศาสตร์ของการปรากฏตัวด้านอาวุธนิวเคลียร์ของอเมริกาในภูมิภาคแปซิฟิค,สงครามระหว่างมหาอำนาจทางการทหารที่ใหญ่ที่สุดกับประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก  ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ไม่อาจคาดคิดอีกต่อไป

ในภาพยนต์สารคดีของเขาเรื่อง “สงครามที่จะมาถึงของจีน”  ที่ได้ออกอากาศทางช่อง อาร์ ที ด๊อคคิวเมนแทรี่ เมื่อปลายสัปดาห์นี้        นักข่าวและผู้สร้างภาพยนตร์สารคดีที่ได้รับรางวัลมากมายได้ยืนยันความตั้งใจของตนที่จะ “ทำลายความเงียบงัน” ลงไป     พิลเกอร์เริ่มต้นจากการสังเกตข้อเท็จจริงต่างๆทางประวัติศาสตร์ที่ละเลยการแสดงแสนยานุภาพของอเมริกาในย่านเอเซีย-แปซิฟิค

นักข่าวชาวออสเตรเลียกล่าวที่ฐานทัพของอังกฤษ  ในตะวันตกเห็นว่า..”การคุกคามของจีนได้กลายเป็นข่าวที่มีความสำคัญ...สื่อได้พากันประโคมโหมกระหน่ำกลองสงครามราวกับจะให้โลกเห็นและระมัดระวังจีนว่าเป็นศัตรูตัวใหม่ ”       สื่อหลักของโลกเช่น ซี เอ็น เอ็น ได้นำเสนอข่าวนี้แยกออกเป็นข่าวพิเศษในกรณีที่สหรัฐฯประกาศควบคุมเที่ยวบินต่างๆเหนือบริเวณหมู่เกาะที่เกิดกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้  ภาพ
ยนต์ของพิลเกอร์ระบุว่า  “ฐานทัพของสหรัฐฯได้สร้างบ่วงแร้วขนาดยักษ์ในการปิดล้อมจีนด้วย ขีปนาวุธ..เครื่องบินทิ้งระเบิด  กองเรือรบ ในเส้นทางทั้งหมดตั้งแต่ออสเตรเลียตลอดทั้งแปซิฟิคไปยังเอเชียและไกลกว่านั้น”   เจมส์ แบรดเลย์ ในฐานะของผู้เผยแพร่ภาพยนต์ข่าวผู้หนึ่ง.. และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง  “จีน..ภาพลวงตา”   กล่าวว่า  “ถ้าคุณอยู่ในกรุงปักกิ่งและยืนอยู่บนตึกที่สูงที่สุดและมองไปยังมหาสมุทรแปซิฟิค...คุณจะเห็นเรือรบของสหรัฐฯ.คุณก็น่าจะเห็นเกาะกวมที่กำลังจะจมลงเพราะน้ำหนักของบรรดา ขีปนาวุธที่เล็งเป้าไปยังจีน”

ความลับของเกาะบิกินี
คือสถานที่ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของสหรัฐฯมานานหลายปี   เป็นชื่อที่ดังกระฉ่อนในเรื่องของความอื้อฉาว   เป็นเกาะปะการัง(Atoll)ที่ยืมชื่อมาจากการออกแบบชุดว่ายน้ำของสุภาพสตรี..เกาะปะการังนี้อยู่ในหมู่เกาะมาร์แชลที่เป็น”ยุทธศาสตร์ลับของอเมริกา”   ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิคที่กว้างใหญ่ ระ  หว่างอเมริกาและเอเซีย  เป็นบันไดหินที่ดีเยี่ยมในการก้าวไปสู่เอเชียและจีน   ปี 1946 สหรัฐฯได้รับการมอบหมายให้ดูแลหมู่เกาะในแปซิฟิคเหล่านี้ภายใต้สนธิสัญญาของสหประชาชาติ แต่มันได้ถูกเปลี่ยนไปเป็น “ห้องทดลองของการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์  ประชากรของที่นี่ก็ได้กลายเป็นหนูทดลอง”    ในภาพยนตร์กล่าวต่อไปว่า..รวมไปถึงผลการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ที่ได้ทดสอบกับสัตว์ต่างๆด้วย

 
 ในขณะเดียวกันชุดว่ายน้ำบิกินีก็ได้ปรากฏขึ้นหลังจากการทดลองระเบิดไฮโดรเจนของสหรัฐฯที่เกาะปะการังบิกินี...แต่รูปร่างของชาวเกาะก็ไม่ได้โด่งดังอย่างผู้ที่สวมใส่    พวกเขากลับอาศัยอยู่ท่ามกลางสถานที่ๆมีกัมมันตภาพรังสีมากที่สุดในโลก   จากการทดลองในทะเล  อากาศ  บนแนวปะการัง และใต้น้ำ     ผลรวมของการทดลองระเบิดทั้งบนเกาะและรอบๆหมู่เกาะมาร์แชลนั้นมีปริมาณมากกว่าการทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมาถึง 7,200 เท่า    นั่นหมายความว่าเมื่อเทียบกันแล้วจะมากกว่า
การทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมาวันละหนึ่งลูกทุกๆวันนานถึง 12 ปี     พิลเกอร์กล่าวว่า จนถึงทุกวันนี้เกาะบิกินีก็ยังไม่เหมาะสำหรับมนุษย์ที่จะอยู่อาศัย

พื้นที่บริเวณรอบๆปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดซึ่งมนุษย์ได้สร้างขึ้นจากการทดลองระเบิดไฮโดรเจนที่เรียกว่า “บราโว” คือแหล่งที่มีมลพิษเจือปนมากที่สุดบนโลกใบนี้   สารคดีได้อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่ สหรัฐฯที่เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ว่า..”มันจะเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะแสดงให้เห็นว่ามนุษย์สามารถจะอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนได้”...ในขณะที่ผู้ผลิตสารคดีนี้ได้สำรวจพบถึงภัยอันตรายว่าประชา  ชนที่อาศัยอยู่บนเกาะปะการังหลายคนเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง  “สิ่งที่ชาวอเมริกันทำนั้นไม่ใช่อุบัติเหตุ  พวกเขามาที่นี่เพื่อทำลายแผ่นดินของเรา   พวกเขามาเพื่อทดสอบผลของการทดลองระเบิดนิวเคลียร์กับพวกเรา”   สตรีท้องถิ่นกล่าวกับคณะของเรา

การเหยียดเชื้อชาติในแปซิฟิค
การสร้าวฐานทัพของอเมริกันในภูมิภาคนี้..ชี้ชัดว่า  “เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นความลับสุดยอด”เรื่องหนึ่งที่รู้จักกันในนาม แหล่งทดลองของ โรนัล เรแกน   นักข่าวพบว่าฐานยิงจรวดของสหรัฐฯขึ้นตรงต่อเขาในการ  “ควบคุมเส้นทางทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิคที่จะไปสู่เอเชียและจีน”  ด้วยอาวุธทั้งมวลในการทำลายล้างที่ “ออกแบบมาสำหรับสงครามที่กำลังจะมาถึง”    ฐานทัพทั้งหลายคือส่วน ”น่าสัง เกตุ” ของแผนควบคุมทางอากาศของสหรัฐฯที่รู้กันในนาม “วิสัยทัศน์ 2020” ที่ออกแบบไว้เมื่อทศวรรษ ที่ 1990    สามารถอธิบายอย่างเป็นทางการว่าครอบคลุมอย่าง “เต็มรูปแบบ” วอชิงตันได้ทุ่มเงินจำนวน มหาศาลไปกับความทะเยอทะยานทางการทหาร     ด้วยการซ้อมรบทางอากาศ..ทดลองยิงจรวดข้ามทวีปจากแคลิฟอร์เนียไปยังหมู่เกาะมาแชลส์ ที่มีระยะทางถึง 5000 ไมล์   ในขณะที่คนท้องถิ่นยังจมอยู่กับความยากจน

อเมริกันปฏิบัติต่อประชาชนผู้อาศัยอยู่อีกฟากหนึ่งของอ่าวที่ตรงกันข้ามกับฐานทัพของตนอย่างที่พิลเกอร์ให้คำนิยามว่า “การเหยียดเชื้อชาติแห่งแปซิฟิค”  และที่อาศัยของชาวพื้นเมืองว่า “แหล่งเสื่อมโทรมแห่งแปซิฟิค”  ชาวเกาะกว่า 12,000 คนล้วนแต่เป็นผู้อพยพจากที่อยู่เดิมของตน ซึ่งปัจจุบันนี้คือฐานยิงจรวดของสหรัฐฯ  และผู้คนบนเกาะที่มีมลพิษจากการทดลองนิวเคลียร์ซึ่งถูกนำมาทำงานอยู่ในสนามกอล์ฟสำหรับชาวอเมริกันในฐานทัพ    หลังจากทำงานหนักทั้งวันพวกเขาก็ลงเรือเฟอร์รี่กลับบ้านไปสู่ความยากจนเช่นเดิม

ประชาชนชาวเกาะต่อต้านอำนาจกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เกาะ โอกินาวา ของญี่ปุ่นได้กลายเป็น ”แนวหน้าของการส่งสัญญานสงครามกับจีน”  ในขณะที่การต่อ ต้านคัดค้านอย่างสันติของฝ่ายประชาชนในท้องถิ่นได้ท้าทายนโยบาย สร้างความเข้มแข็งในเอเซียของสหรัฐฯ     เอกสารได้เปิดเผยว่า  เมื่อปี 1962 อาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯเกือบจะถูกยิงจากเกาะ...เมื่อฐานทัพที่นี่ยืนยันว่าได้รับคำสั่งให้เตรียมพร้อมในการโจมตีจีน..แต่มีคำสั่งให้ยุติอย่างกระทันหัน   หนึ่งในผู้ปฏิบัติงานของอเมริกาซึ่งมีหน้าที่ในการยิงขีปนาวุธบอกกับ พิลเกอร์ว่า  จีนคือเป้าหมายทางนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ในระหว่างวิกฤติขีปนาวุธในคิวบา

“ เราไม่ต้องการความทุกข์ยากจากสงครามอีก”   หนึ่งในผู้นำการเคลื่อนไหวปะท้วงที่โอกินาวาบอกกับผู้สื่อข่าว     พร้อมกล่าวว่า “ภาระหน้าที่” ของเธอในฐานะผู้รอดชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่สอง  เธออยากเห็นฐานทัพของอเมริกาออกไปจากเกาะของญี่ปุ่น    แต่เครื่องบินรบของอเมริกาก็ยังบินขึ้นลงอยู่ในโอกินาวา  “การคุกคามก็ยังมีอยู่เป็นประจำ”

บ่อยครั้งที่ครูไม่สามารถทำการสอนได้เนื่องมาจากเสียงที่ดังรบกวนหรือความหวาดกลัว...ย้อนหลังไป เมื่อปี 1959  เครื่องบินรบของอเมริกันตกที่โรงเรียนประถม มิยาโมริ และบ้านเรือนใกล้เคียงยังคงเจิดจ้าอยู่ในความทรงจำ   นักบินดีดตัวออกอย่างปลอดภัย  แต่เครื่องบินได้ทำให้ผู้คน 200 คนจมอยู่ในกองเลือด  ส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียนที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บในอุบัติเหตุครั้งนั้น

 
รวมถึงโศกนาฏกรรมจากอุบัติเหตุ 44 ครั้งจากเครื่องบินรบของอเมริกาในหมู่เกาะโอกินาวา     รวมถึงเรื่องความรุนแรงทางเพศที่กระทำต่อสตรีท้องถิ่นซึ่งได้รับการยืนยันว่าล้วนแล้วเกิดจากผู้ปฏิบัติงานชาวอเมริกันทั้งสิ้น     หนึ่งใน ”สถานีรบของสหรัฐฯ” ที่ขึ้นชื่อที่สุดตั้งอยู่บนเกาะเซจู ในเกาหลีใต้    ซึ่งก็มีการเคลื่อนไหวต่อต้านฐานทัพเรือของอเมริกาซึ่งเป็น ”ฐานทัพที่ยั่วยุที่สุดในโลก” ที่สร้างขึ้นบนพื้นที่เกาะที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมรดกโลก..เป้าหมายของมันคือเซี่ยงไฮ้  ที่อยู่ห่างไม่เกิน 400 ไมล์  ซึ่งเป็นเสมือนเส้นชีวิตของจีนในการซื้อขายน้ำมันและพลังงานระดับโลก
.
ยังมีฐานลับอีกมากมายที่วอชิงตันได้สร้างขึ้นภายในพื้นที่ของประเทศอื่นเพื่อการปกปิดอำพรางฐานะของสหรัฐฯ     ซึ่งโดยทั่วไปสถานที่เหล่านั้นไม่ได้แสดงว่าเป็นฐานทัพ    หลายแห่งเป็นการอ้างว่าเพื่อ “ต่อต้านอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีน”  ในขณะที่ฐานทัพหลายแห่งจ่อหน้าประตูบ้านจีน มีฐานะเป็นตัว “ ยั่วยุ ”

เหมืองทองของยาเสพย์ติดและโรคหวาดระแวง
นโยบายต่อต้านจีนที่เป็น ”ต้นแบบของความรุนแรง” เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 19   และได้แพร่กระจายไปทั่วสหรัฐฯ   ในภาพยนตร์..เสนอว่านโยบายเช่นนี้ได้ปกปิดนัยที่แอบแฝงอยู่เบื้องลึก...คือฝิ่น   เบื้องหลังชนชั้นสูงของสหรัฐฯ... จีนคือ “เหมืองทองของยาเสพย์ติด”      วอร์เรน  เดลาโน ตาของแฟรงกลิน ดี.รูสเวลท์  ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐฯคือเจ้าพ่อฝิ่นชาวอเมริกันในจีน   เจมส์ แบรดเลย์ นักเขียนกล่าวว่า  “ความรุ่งโรจน์ของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ทางฝั่งตะวันออกของอเมริกาเช่นโคลัมเบีย  ฮาวาร์ด  เยลส์  ปรินซตัน  ล้วนแต่เกิดจากเงินของฝิ่น       การปฏิวัติอุตสาหกรรมของอเมริกาได้รับการอุดหนุนจากเงินกองทุนที่มาจากยาเสพย์ติดที่ผิดกฎหมาย(จาก)ตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก..นั่นคือจีน”   สาเหตุจากอะไรนั้นเขาไม่ได้พูดถึงแต่เรียกมันว่า “การค้ากับจีน”

หลังศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา..แนวทางใหม่ในการนำเสนอจีนได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น...  จากการปฏิวัติของเหมา  ได้จุดชนวนความหวาดวิตกขึ้นในวอชิงตัน   ริชาร์ด นิกสัน  ประกาศว่าจีนคือ “สาเหตุพื้นฐานของของความยุ่งยากทั้งหมดของเราในเอเซีย ”     ปี 1953  เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์  บิดาแห่งระเบิดไฮโดรเจนได้กล่าวไว้เป็นสิบๆปีถึงความจำเป็นในการป้องกันอำนาจตะวันออก    ภาพยนต์ได้นำเสนอคำพูดของเขา..”ในนามของความปลอดภัยของเรา..ผมเชื่อว่า..มีความจำเป็นที่จะต้องตระเตรียมการป้องกันการโจมตีของจีนต่อสหรัฐฯด้วยขีปนาวุธ”

พิลเกอร์กล่าวว่า..”จีน..คู่ปรับของอเมริกาและการต่อสู้กับระบอบทุนนิยม  เป็นสิ่งที่ไม่อาจอภัยให้ได้”เขาได้เปิดเผยสาส์นลับของ เหมา เจ๋อ ตุง ที่ส่งมายังวอชิงตันเมื่อห้าปีก่อนการปฏิวัติของพรรคคอม มิวนิสต์ ในปี 1949....มีใจความตอนหนึ่งว่า. ”(เรา)ต้องสร้างจีนให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมอย่างเร่ง ด่วน  เรื่องนี้สามารถทำได้โดยวิสาหกิจแบบเสรี    ผลประโยชน์ของประชาชนจีนและประชาชนอเมริกันมีความสอดคล้องกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง      อเมริกาไม่มีความจำเป็นต้องกลัวว่าเราจะร่วมมือกันไม่ได้     เราไม่อาจเสี่ยงในการก้าวก่ายอเมริกา  เราไม่อาจเสี่ยงต่อการมีความขัดแย้งใดๆ”    แต่ผู้นำจีนไม่ได้รับคำตอบใดๆ  และการยื่นมือมาได้ถูกปัดทิ้งไปอย่างสิ้นเชิง

อาวุธที่แยบยลที่สุดคือการให้ผลประโยชน์แก่ศัตรู
สารคดียังเสนอ...”ต้นแบบของเผด็จการคอมมิวนิสต์”  ที่กระจายไปทั่วโดยสหรัฐอเมริกาจากความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องว่า “จีนเป็นเช่นนั้น”   อีริค ลี  นักบริหารวิสาหกิจและนักรัฐศาสตร์กล่าวว่า….ในอเมริกาคุณสามารถเปลี่ยนพรรคการเมืองได้แต่คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายได้  จีนเป็นประเทศที่ใช้เศรษฐกิจการตลาดที่ยืดหยุ่น แต่ไม่ใช่ประเทศทุนนิยม  เขากล่าวต่อไปว่า “ในประเทศจีน.ทุนไม่อาจอยู่เหนืออำนาจทางการเมือง       ดังนั้นมหาเศรษฐีทั้งหลายจึงไม่อาจควบคุมคณะกรรมการกรมการเมืองได้   เหมือนเช่นบรรดามหาเศรษฐีอเมริกันที่เป็นผู้สร้างนโยบายของชาติเสียเอง

ลีกล่าวว่า  รัฐบาลจีน “ไม่มีความพยายามที่จะชี้นำโลก  ไม่แม้แต่จะชี้นำเอเชีย-แปซิฟิค       ผมคิดว่าพวกเขาต้องการเพียงมิให้อเมริกาเข้ามาครอบงำภูมิภาคนี้      ดังนั้นพวกเขาจำต้องทำอย่างที่พวกเขาเชื่อ...ว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้องอันเนื่องมาจากมันเป็นภาาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน” และกล่าวต่อไปว่า.. ” จีน... โดยปกติแล้วค่อนข้างจะอ่อนน้อมเมื่อเปรียบกับศักยภาพของพวกเขา”
เมื่อพลังทางเศรษฐกิจของโลกเคลื่อนย้ายเข้าสู่เอเชียอย่างรวดเร็ว  ความรับผิดชอบของอเมริกาคือการเคลื่อนกำลังทางเรือเข้าสู่ภูมิภาคอย่างที่พิลเกอร์กล่าว...”การเสริมกำลังทางการทหารขนาดใหญ่เป็นที่รู้กันในวอชิงตันว่า เพื่อสร้างความมั่นคงแก่เอเซียนั้น..มีเป้าหมายอยู่ที่จีน” อย่างที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามาได้กล่าวไว้ในปี 2011ว่า  การเข้าไปในเอเชีย- แปซิฟิค คือ “ภารกิจแรกๆที่มีความสำคัญ”



Monday, December 12, 2016

ทำไมระบอบเผด็จการจึงประสบความสำเร็จในสังคมไทย

ทำไมระบอบเผด็จการจึงประสบความสำเร็จในสังคมไทย’ 
งานวิจัยชิ้นใหม่ของ ประจักษ์ ก้องกีรติ        28-09-2016
HIGHLIGHTS:
·      ประชาธิปไตยไม่ใช่ OS (ระบบปฏิบัติการ) ทางการเมืองที่สมบูรณ์แบบที่สุด แต่เป็น OS ที่พร้อมจะอัพเดตได้ง่ายที่สุด ต่างจากเผด็จการที่เป็นเหมือน OS ที่อัพเดตไม่ได้
·      อาวุธลับของเผด็จการไทย คือการเปรียบเทียบอดีตที่วุ่นวายกับปัจจุบันที่สงบ เพื่อค่อยๆ นวดให้ประชาชนรู้สึกว่าแบบนี้ก็ดีอยู่แล้ว
·      อำนาจเด็ดขาดและความสงบเป็นเพียงภาพลวงตา แท้จริงแล้วยังมีปัญหาอีกมากมายที่เผด็จการไม่เคยแก้ไข
ระบอบเผด็จการกับการเมืองไทยคือสิ่งที่อยู่คู่กันมาอย่างยาวนาน แม้เราอยากจะปฏิเสธแค่ไหน ก็คงหนีความจริงข้อนี้ไปไม่พ้น    ถ้าประชาธิปไตยคือจุดหมายปลายทางที่สำคัญของประเทศ แทนที่จะตีอกชกหัวพร่ำโทษว่าทำไมประเทศไทยไม่เป็นประชาธิปไตย     เราอยากชวนคุณมากลับมุมคิดกับงานวิจัยชิ้นล่าสุดของ ผศ. ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ใช้เวลานานกว่า 6 เดือน เก็บตัวอย่างศึกษาระบอบเผด็จการอย่างจริงจังที่ประเทศสิงคโปร์ จนสุดท้ายกลายมาเป็นผลงานวิจัยที่ใช้ชื่อว่า 'A Tales of Three Authoritarianism' หรือ 'เรื่องเล่าจากระบอบเผด็จการ 3 ยุค'

แม้ว่าผลวิจัยนี้จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่สิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากการศึกษาครั้งนี้ น่าจะทำให้เราเห็นภาพของระบอบการปกครองเผด็จการได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ทำไมเราต้องเข้าใจเผด็จการ?
ประโยคที่เราชอบพูดกันซ้ำๆ ว่าประชาธิปไตยไทยอายุ 80 กว่าปีแต่ก็ยังล้มเหลว จริงๆ ประโยคนี้ผิดตั้งแต่ต้น เพราะสังคมไทยไม่ได้แต่งงานกับประชาธิปไตย แล้วใช้ชีวิตคู่อย่างราบรื่นมาโดยตลอด มันมีการหย่าร้างกันหลายช่วง

ประจักษ์เริ่มต้นตอบคำถามของเราด้วยการอ้างถึงความเข้าใจแบบผิดๆ ที่เราถูกพร่ำสอนมานาน ก่อนจะเสริมว่า   หลังจากศึกษาเรื่องประชาธิปไตยมานาน พอทำไปถึงจุดหนึ่งก็เริ่มรู้สึกถึงทางตันกับการตอบคำถามว่า ทำไมประชาธิปไตยไทยถึงล้มเหลว   ซึ่งนักวิชาการหลายคนสรุปแทบไม่ต่างกันเช่น วัฒน ธรรมไทยไม่เอื้อ   สังคมไทยเป็นสังคมอุปถัมภ์ ไม่ได้เชื่อเรื่องความเท่าเทียมกัน บางคนใช้คำว่าเนื้อดินมันไม่เอื้อ วัฒนธรรมเราเป็นแบบหนึ่ง ประชาธิปไตยเป็นของนอก  เอามาปลูกเลยไม่โต   หรือคนมักจะบอกว่าช่องว่างทางเศรษฐกิจมันเยอะเกินไป ยากที่ประชาธิปไตยจะเติบโตในสังคมที่มีช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยสูง   หรือบางคนก็อธิบายว่าไทยมีความพิเศษบางอย่าง ทำให้จำเป็นต้องมีระบอบการปกครองเฉพาะของตัวเอง

พอคำตอบที่ได้มันเริ่มวนและไปไหนต่อไม่ได้ เลยอยากหาโจทย์วิจัยใหม่ๆ ดังนั้นผมเลยอยากมองไปที่อีกด้านของเหรียญ แทนที่จะมองว่าทำไม 84 ปีมานี้ประชาธิปไตยล้มเหลว ก็มองว่าทำไมระบอบเผด็จการถึงประสบความสำเร็จ โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบทั้ง 3 ยุค คือ ยุคสฤษดิ์-ถนอม   ยุคสุจินดา และยุคปัจจุบัน

"คนมักจะเข้าใจผิดว่าระบอบเผด็จการคือความสงบ มั่นคง มีแบบแผน คาดเดาได้   แต่จริงๆ แล้วหัวใจของระบอบเผด็จการคือการคาดเดาไม่ได้"

รัฐธรรมนูญ = เครื่องมือสร้างการยอมรับของระบอบเผด็จการ
สิ่งหนึ่งที่ประจักษ์ได้ค้นพบจากการทำงานวิจัยชิ้นนี้ก็คือ ระบอบเผด็จการไทยมักจะยึดโยงตัวเองเข้ากับรัฐธรรมนูญในทุกยุคทุกสมัย   นั่นเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ เพราะหลังจากรัฐประหารเสร็จสิ้น สิ่งแรกที่รัฐบาลเผด็จการต้องทำก็คือการฉีกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าทิ้ง และร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่  มีบางคนล้อว่าการร่างรัฐธรรมนูญเป็นอุตสาหกรรมอย่างหนึ่ง เพราะมีคนที่มีชีวิตอยู่ได้ด้วยการรับจ้างร่างรัฐธรรมนูญ เหมือนเขียนหนังสือไตรภาค

ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะรัฐธรรมนูญคือเครื่องมือที่ระบอบเผด็จการมักจะนำมาใช้เพื่อสร้างการยอมรับต่อนานาประเทศ    สังคมไทยไม่เคยเป็นสังคมปิดแบบพม่า เผด็จการไทยจึงเป็นระบอบเผด็จการที่พยา- ยามมีความสัมพันธ์กับโลกภายนอกตลอดเวลา เพราะถ้าปิดประเทศแบบพม่าก็จะเจ๊งกันหมด ชนชั้นนำก็เจ๊ง   คนทำรัฐประหารก็เจ๊งด้วย   เพราะเราไม่สามารถกลับไปอยู่แบบทำไร่ทำนา โดยไม่ต้องค้าขายกับโลกภายนอกได้       พอคุณพยายามจะสร้างความชอบธรรมกับต่างประเทศ  คุณก็ต้องแสดงให้เห็นว่าระบอบเผด็จการของคุณไม่ใช่ระบอบป่าเถื่อนโหดร้าย หรือใช้แต่อำนาจดิบ แต่ยังปกครองโดยยึดหลักกฎหมายด้วย

นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังจะช่วยให้ระบอบเผด็จการสามารถปกครองได้ยาวๆ แบบไม่ต้องเจอแรงกดดันมากนัก    เมื่อมีรัฐธรรมนูญก็เท่ากับระบอบนั้นกำลังมีข้ออ้างชั้นดีต่อประชาชนของตัวเองและโลกภาย นอก     คนมักจะเข้าใจผิดว่าระบอบเผด็จการคือความสงบ มั่นคง มีแบบแผน คาดเดาได้ แต่จริงๆ แล้วหัวใจของระบอบเผด็จการคือการคาดเดาไม่ได้ สมมติคุณอยากจะปลดผู้ว่าฯคนนี้คุณก็ปลด  อันนี้แหละคือธรรมชาติของระบอบเผด็จการ    แต่ไม่มีใครชอบเจ้านายที่หุนหันพลันแล่นและคาดเดาไม่ได้ เพราะลูกน้องทุกคนจะกลัวและไม่แน่ใจว่าจะโดนปลดเมื่อไร ฉะนั้นระบอบเผด็จการที่อยากจะอยู่ยาวหน่อย และได้รับการยอมรับจากคนใต้ปก ครองก็ต้องพยายามสร้างหลัก หรือกฎระเบียบบางอย่างขึ้นมา

แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นกฎระเบียบที่เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนเหมือนรัฐธรรมนูญภายใต้ระบอบประชาธิปไตย มันก็จะเป็นรัฐธรรมนูญแบบเผด็จการอย่างจีน หรือรัสเซียก็มีรัฐธรรมนูญ ซึ่งเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเหล่านี้จะให้อำนาจแก่ผู้นำเยอะ ไม่ได้ให้เสรีภาพกับสื่อหรือประชาชนมากนัก แต่มันก็ยังสำคัญ เพราะอย่างน้อยก็ใช้อ้างกับประชาชนและโลกภายนอกได้

เทียบอดีตที่วุ่นวายกับปัจจุบันที่มั่นคงอาวุธลับของ เผด็จการแบบนวด
ประจักษ์ตั้งข้อสังเกตว่าหนึ่งในอาวุธลับที่ระบอบเผด็จการยุคปัจจุบันหยิบมาใช้บ่อยๆ และมักจะได้ผลทุกครั้งไปก็คือการเปรียบเทียบภาพความวุ่นวายในอดีตกับปัจจุบัน เพื่อค่อยๆ โน้มน้าวให้คนฟังรู้สึกคล้อยตามไปเรื่อยๆ  ผมว่าระบอบนี้น่าสนใจ เพราะวิธีหนึ่งที่เขาใช้มาตลอดคือ เขาจะไม่พูดถึงสิ่งที่เขาทำเฉยๆโดยไม่อ้างอิงกับอดีต เช่น จะกลับไปตีกันเหมือนเดิมไหมล่ะ คุณชอบเหรอ แล้วตอนนี้เสียหายตรงไหน บ้านเมืองสงบ เพื่อให้เห็นว่าปัจจุบันอาจจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่มันก็ดีกว่าอดีตใช่ไหม

ซึ่งตามทฤษฎีอธิบายว่ามีระบอบเผด็จการบางประเภทที่มักจะอ้างอิงความชอบธรรมของตัวเองจากการเปรียบเทียบกับอดีต    คือรู้แหละว่าตัวเองบริหารงานไม่เก่งมาก เศรษฐกิจอาจจะไม่ดีมาก ฉะนั้นวิธีที่จะสร้างความชอบธรรมอย่างได้ผลที่สุดก็คือ    การบอกว่าอย่างน้อยข้าพเจ้าก็ดีกว่าระบอบที่เพิ่งล้มลงไป ผมเรียกว่าเป็น เผด็จการแบบนวดเขาจะค่อยๆนวดความคิดคุณไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่คุณรู้สึกว่าต้องทำตามที่เขาบอกนั่นแหละ เพราะเป็นทางเลือกที่เสียหายน้อยที่สุดแล้ว"
 
"ผมคิดว่าสังคมที่ดีไม่ควรจะมีแค่ความสงบเป็นเป้าหมายปลายทางเพียงอย่างเดียว เพราะถ้าสมมติว่าความสงบคือเป้าหมายประการเดียวที่สำคัญที่สุดของการอยู่ร่วมกัน   แบบนั้นเกาหลีเหนือคงเป็นสังคมที่น่าอยู่ที่สุดในโลก"
ความสงบที่แลกมาด้วยต้นทุนที่สูงลิ่ว
เมื่อผ่านเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่ต่อเนื่องยาวนานมาจนชินชา ไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนจะโหยหาความสงบในสังคม ซึ่งถือเป็นจุดขายสำคัญของระบอบเผด็จการในปัจจุบัน      แต่ถึงอย่างนั้นความสงบที่ผู้คนต้องการก็อาจจะมาพร้อมกับต้นทุนที่สูงลิ่ว    ขึ้นอยู่กับว่าเราพร้อมจะแลกหรือเปล่า
ถามว่าอะไรคือสังคมที่ดี ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการเมืองก็ได้ ผมคิดว่าสังคมที่ดีไม่ควรจะมีแค่ความสงบเป็นเป้าหมายปลายทางเพียงอย่างเดียว เพราะถ้าสมมติว่าความสงบคือเป้าหมายประการเดียวที่สำคัญที่สุดของการอยู่ร่วมกัน แบบนั้นเกาหลีเหนือคงเป็นสังคมที่น่าอยู่ที่สุดในโลก เพราะไม่ต้องมีความขัด แย้งใดๆ  ไม่ต้องมีสื่อมาคอยวุ่นวาย  ไม่มีการประท้วง ไม่มีคนออกมาโหวกเหวกโวยวาย แต่ทำไมเวลานึกถึงเกาหลีเหนือแล้ว ถึงไม่มีใครอยากไปอยู่ล่ะ”

ก็หมายความว่ามันต้องมีอะไรมากกว่าความสงบใช่ไหม ที่คุณก็รู้ว่าคุณต้องการเพื่อที่จะมีชีวิตในสังคมที่ดี ทั้งการศึกษาที่ดี เสรีภาพในการแสดงออกได้ ไม่ใช่แค่ทางการเมืองอย่างเดียว แต่รวมถึงการแสดงความคิดเห็น    อัตลักษณ์ของคุณที่จะได้รับความเคารพ  สิทธิเสรีภาพของสื่อ หรือสิทธิมนุษยชน  คุณอยากอยู่ในสังคมที่อยู่ดีๆก็มีเจ้าหน้าที่รัฐมาเคาะประตูบ้านแล้วลักพาตัวสามีคุณไปเลยไหม ซึ่งสิ่งเหล่า นี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นในระบอบเผด็จการทั่วโลก  ทั้งจีน  รัสเซีย  อิหร่าน  หรือแม้กระทั่งเวียดนาม

อำนาจเด็ดขาดของระบอบเผด็จการอาจเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการ เพราะมันมาพร้อมกับความฉับไวในการแก้ปัญหาความสงบเรียบร้อยในสังคม      แต่ประจักษ์มองว่าสิ่งเหล่านั้นอาจเป็นเพียงภาพลวงตา เพราะปัญหาต่างๆ ถูกซุกไว้ใต้พรมจนเราเผลอเข้าใจไปว่าทุกอย่างเรียบร้อยดี      ปัญหาของอำนาจเด็ดขาดก็คือ อำนาจแบบนี้ไม่ได้แก้ไขปัญหาระยะยาว หรือไม่ได้แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง คือถ้าสัง คมไทยป่วยเป็นโรค มันมีสาเหตุพื้นฐานหลายอย่างที่ทำให้เรามาถึงจุดนี้   แต่อำนาจเด็ดขาดเหมือนฝิ่น คือจะมีฤทธิ์แรงมาก  ช่วยระงับความเจ็บปวด  พอใช้ปุ๊บก็ฟินเลย   แต่วันหนึ่งที่คุณตื่นขึ้นมาแล้ว คุณก็จะรู้ว่ามูลเหตุพื้นฐานทั้งหลายทางเศรษฐกิจ สังคม ความเหลื่อมล้ำ การศึกษา  หรือระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพมันยังไม่ได้รับการแก้ไข ตอนนี้เราก็แค่สะใจที่ได้ลุ้นว่าวันนี้เขาจะปลดคนไหน แต่มันแก้ไขปัญหาจริงๆ หรือเปล่าล่ะ

สิงคโปร์โมเดลความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเผด็จการของคนไทย
เมื่อมีประเด็นเกี่ยวกับระบอบเผด็จการ ตัวอย่างที่คนไทยมักจะหยิบยกมาพูดถึงคือประเทศสิงคโปร์ ที่มีภาพลักษณ์เป็นเผด็จการที่อาจจะมีเสรีภาพไม่มากเท่าประเทศประชาธิปไตย  แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกลับแซงหน้าประเทศเพื่อนบ้าน จนหลายคนขนานนามว่าเป็น สิงคโปร์โมเดล

จากที่ผมไปเป็นนักวิจัยอยู่ที่สิงคโปร์ 6-7 เดือน จึงพบว่าสังคมไทยสร้างสมการที่ผิดมาตลอดเวลาพูดถึงสิงคโปร์โมเดล ที่มีความเจริญ เศรษฐกิจดี โดยไม่ต้องมีประชาธิปไตยก็ได้ ซึ่งเราต้องเข้าใจก่อนว่าสิงคโปร์ไม่ใช่ประชาธิปไตยเต็มร้อยแน่นอน แต่เขาก็ไม่ใช่เผด็จการอย่างที่เราเข้าใจ คือสิงคโปร์ไม่ใช่เผด็จการทหาร   ถ้าจะเรียกว่าเผด็จการก็เป็นเผด็จการพรรคการเมือง     แต่เขามีที่มาจากการเลือกตั้ง”
 
ที่พรรคของลีกวนยูชนะการเลือกตั้งมาตลอด ก่อนจะขึ้นสู่อำนาจแต่ละครั้ง     เขาต้องมีการแข่งขันกับพรรคการเมืองอื่น อาจจะมีคนกล่าวหาว่าเขาใช้งบประมาณทุกอย่างเพื่อทำให้ตัวเองได้เปรียบ    แต่คนเลือกเขาก็เพราะเขาทำผลงานดี สร้างระบบคมนาคมที่ดี การศึกษาดี และอีกเรื่องที่ทำให้เขาเป็นที่นิยมมากคือนโยบาย Government Housing หรือการจัดโครงการที่อยู่อาศัยให้คนรายได้น้อย   แค่ทำ 3-4 เรื่องนี้ได้ คนก็แฮปปี้แล้ว เวลาเลือกตั้งคนก็ต้องเลือกพรรคนี้ เพราะเขาพิสูจน์แล้วว่าทำงานได้ เขาเลยชนะมาตลอด ถามว่าเขาเป็นเผด็จการที่มาจากการยึดอำนาจ หรือกดขี่ข่มเหงประชาชนไหม  ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ แค่เป็นพรรคการเมืองที่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งมาอย่างยาวนาน
ขนาดสีเทายังมีหลายเฉด เผด็จการหรือประชาธิปไตยก็คงไม่ต่างกัน ที่ต้องทำก็คือแยกให้ออกว่าเผด็จการแต่ละแบบเป็นอย่างไร เพื่อจะได้รับมือกับระบอบนั้นได้อย่างตรงจุด
 
ถ้าเราไม่สามารถแยกเผด็จการที่มีหลายเฉดออกจากกันได้    เราก็จะไม่เข้าใจวิธีการทำงานของเผด็จการ   ประชาธิปไตยก็มีหลายแบบเผด็จการก็มีหลายประเภท วิธีแยกง่ายๆ คือดูว่าอำนาจกระจุกตัวอยู่ที่ใคร   อย่างจีนถือเป็นเผด็จการพรรคการเมือง สิงคโปร์ก็เช่นกัน ส่วนเกาหลีเหนือเป็นเผด็จการครอบครัว      เราต้องเข้าใจว่า OS หรือระบบปฏิบัติการของแต่ละระบอบมีความต่างกัน ของไทยเป็นเผด็จการแบบกองทัพ เพราะฉะนั้นถ้าจะไปเปรียบเทียบกับจีนหรือสิงคโปร์ก็จะเป็นการเปรียบเทียบแบบผิดฝาผิดตัว
 
"เรากำลังใช้ระบบปฏิบัติการ หรือ OS ที่โลกเลิกใช้ไปแล้ว แต่เราหยิบมาใช้ แล้วยังคาดหวังว่ามันจะเวิร์ก แรงเสียดทานจึงสูงมาก เพราะโลกได้ก้าวไปสู่ OS อื่นๆ แล้ว"
ประเทศไทยเป็นเผด็จการกองทัพที่เหลืออยู่เพียงหนึ่งเดียวในโลก!
ตอนนี้เราเป็นเผด็จการโดยกองทัพประเทศเดียวในโลกที่ยังคงมีอำนาจอยู่ในปัจจุบัน...
 ก่อนหน้านี้มีเยอะแยะ เพราะช่วงพีกของเผด็จการโดยกองทัพคือช่วงปี 1970 ซึ่งมีประมาณ 20-30 ประเทศ โดยเฉพาะในลาตินอเมริกาอย่าง ชิลี บราซิล อาร์เจนตินา หรือแม้แต่เกาหลีใต้ และอีกหลายประเทศ ถ้าเป็นเมื่อก่อนถือว่าอินเทรนด์นะ

ตัดภาพกลับมาในยุคปัจจุบัน ระบอบที่ได้รับความนิยมเมื่อ 46 ปีที่แล้วกลับกลายเป็นระบอบที่ค่อยๆ หายไปจากแผนที่โลก เหตุผลที่ตายไปเพราะมันไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากไม่มีประสิทธิภาพแล้วยังปิดกั้นสิทธิเสรีภาพอีก คือไม่ตอบโจทย์ทั้งสองทาง อย่างจีนถึงจะปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ แต่ยังมีความสา มารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นโมเดลเผด็จการพรรคการเมืองที่ใช้เทคโนแครตที่มีความสามารถมาช่วยบริหารเศรษฐกิจ  ยิ่งมีโลกาภิวัตน์  ทั่วโลกก็ยิ่งต้องการระบอบการเมืองการปกครองที่รู้เท่าทันการจัดการระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ ซึ่งเผด็จการกองทัพจะสวนทางกับแนวทางนี้ เพราะฉะนั้นจึงค่อยๆ สูญพันธุ์ไปเรื่อยๆ “  พูดง่ายๆ ว่าเรากำลังใช้ระบบปฏิบัติการ หรือ OS ที่โลกเลิกใช้ไปแล้ว แต่เราหยิบมาใช้ แล้วยังคาดหวังว่ามันจะเวิร์ก แรงเสียดทานจึงสูงมาก เพราะโลกได้ก้าวไปสู่ OS อื่นๆ แล้ว ขนาดพม่าก็ยังรู้แล้วว่า OS นี้ไม่เวิร์ก เขาจึงต้องปรับตัว

ถ้าทุกคนถูกดัดแปลงความคิดจนคิดเหมือนกันหมด ไม่มีใครแตกต่างกัน แล้วความคิดนั้นตรงกับรัฐ ก็จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าการเมืองอีกต่อไป จะเหลือแต่การปกครอง ทุกคนจะเป็นพลเมืองเชื่องๆ เหมือนหุ่นยนต์
ทำไมเผด็จการจึงยังไม่ตายไปจากสังคมไทย?
ในเมื่อหลายประเทศเลิกใช้ระบอบการปกครองนี้ไปแล้ว สงสัยไหมว่าทำไมระบอบเผด็จการทหารถึงยังใช้ได้ในประเทศไทย คำตอบที่ได้คือ...

เผด็จการจะอยู่ได้ด้วยเครื่องมือ 2-3 อย่าง อย่างแรกคือควบคุมด้วยอำนาจดิบ หรือความกลัว ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่สุดแต่ไม่ยั่งยืนที่สุด เพราะไม่มีใครชอบโดนกดขี่บังคับไปตลอด เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นให้ประชาชนเลย สักวันก็ต้องโดนประท้วงขับไล่

ฉะนั้นจึงต้องมีเครื่องมือตัวที่ 2 คือคุณต้องบริหารจัดการประเทศให้ดี ให้เศรษฐกิจยังพอไปได้ ให้คนรู้สึกว่าต่อให้ไม่มีสิทธิเสรีภาพ แต่ชีวิตด้านอื่นๆ ก็ยังได้รับความสะดวกสบาย แต่เครื่องมือนี้ก็ยังมีความเปราะบาง เพราะวันหนึ่งเมื่อเศรษฐกิจล่มสลาย ชีวิตไม่ได้ดีเหมือนก่อน การบริหารจัดการล้มเหลว คนก็จะออกมาเรียกร้องหาระบอบอื่น เหมือนอินโดนีเซียที่ซูฮาร์โตอยู่มา 31 ปี พอเจอวิกฤตเศรษฐกิจก็เกิดการประท้วงจนอยู่ไม่ได้

แต่จะอยู่ได้นานต้องใช้เครื่องมือที่ 3 ซึ่งลึกซึ้งที่สุด ถ้าทำได้ก็จะอยู่ได้นานที่สุด คือการควบคุมทางอุดมการณ์ ถ้าคุณสามารถควบคุมความคิดคนให้เห็นว่าการปกครองของคุณ ต่อให้ล้มเหลวทางเศรษฐ กิจ ถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพ แต่เป็นทางเลือกเดียวที่ดีที่สุดสำหรับสังคม ไม่มีทางอื่นที่ดีกว่านี้ ถ้าทุกคนถูกดัดแปลงความคิดจนคิดเหมือนกันหมด ไม่มีใครแตกต่างกัน แล้วความคิดนั้นตรงกับรัฐ ก็จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าการเมืองอีกต่อไป จะเหลือแต่การปกครอง ทุกคนจะเป็นพลเมืองเชื่องๆ เหมือนหุ่นยนต์ ถ้าอย่างนั้นคุณก็ปกครองได้ตลอดไป

แล้วเราจะรับมือกับระบอบเผด็จการได้อย่างไร?
ถ้าใครเคยได้อ่านงานเขียนของ จอร์จ ออร์เวลล์ เรื่อง 1984 จะพบว่าสิ่งหนึ่งที่พี่เบิ้ม หรือ Big Brother หวาดกลัวที่สุดก็คือพลเมืองที่สามารถรักษาความคิดอิสระของตัวเองไว้ได้    แม้จะเป็นเพียงนิยาย แต่หลายอย่างใน 1984 ก็ทาบทับได้อย่างพอดิบพอดีกับโลกความเป็นจริง และ Big Brother ในเรื่องก็ไม่ต่างจากระบอบเผด็จการในยุคปัจจุบันมากนัก ดังนั้นวิธีรับมือกับระบอบนี้ได้ดีที่สุดจึงเป็นการรักษาจุดยืนทางความคิดของตัวเองเอาไว้ให้มั่นคง และไม่สั่นคลอนไปตามวาทกรรมชวนเชื่อที่รัฐพยายามปลูกฝัง

 “ในฐานะคนสอนหนังสือก็ต้องใช้ชีวิตต่อไปตามปกติ โดยที่ยังสามารถรักษาความคิดอิสระของตัวเองไว้ได้ เพราะหน้าที่ของคนที่เป็นนักคิดคือ    การชี้ให้คนทั่วไปเห็นว่าโลกไม่จำเป็นต้องเป็นในแบบที่มันเป็นอยู่มันมีโอกาสที่จะมีสิ่งที่ดีกว่านี้เกิดขึ้นได้       ฉะนั้นถ้าระบอบเผด็จการทำงานอยู่บนฐานของการเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบันให้คุณยอมรับว่าตอนนี้ดีที่สุดแล้ว ความหวังของสังคมไทยก็อยู่ที่นักคิดที่ต้องชี้ให้เห็นว่ามันมีอนาคตที่ดีกว่าปัจจุบัน

ทำไมต้องประชาธิปไตย?
ในทางรัฐศาสตร์ เผด็จการ หรือประชาธิปไตย ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่งที่ต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง แต่ถ้าเลือกได้คุณอยากจะอยู่ในสังคมที่ปกครองด้วยระบอบไหน     อย่าเพิ่งตอบคำถามนี้จนกว่าได้จะฟังแนวคิดของประจักษ์ที่มีต่อระบอบการปกครองทั้ง 2 แบบ    “ผมไม่ได้มองว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่เลิศเลอ เผด็จการก็เช่นกัน สำหรับนักรัฐศาสตร์เวลาพูดถึงระบอบการปกครองจะถือว่าเป็นความหมายธรรมดาสามัญมากเลย แค่พูดถึงระบอบการเมืองต่างชนิดกัน เหมือนเป็น OS ทางการเมือง      ทีนี้ทำไมผมถึงเชื่อในระบอบประชาธิปไตยมากกว่า ก็เพราะอย่างน้อยมันผ่านการพิสูจน์ และทดลองใช้มาแล้วในที่ต่างๆ ทั่วโลก มันเป็น OS ที่มีศักยภาพในการปรับตัวได้มากกว่าระบอบเผด็จการ โดยเฉพาะระบอบเผด็จการแบบทหารซึ่งเป็น OS ที่ล้าหลังที่สุด

คุณจะไปคาดหวังให้เขาเป็นในสิ่งที่ไม่ใช่ไม่ได้     ไม่ว่าคุณจะเอาทหารประเทศไหนก็ตามมาบริหารประเทศก็ต้องเจอแบบนี้แหละ เพราะทหารส่วนใหญ่ถูกฝึกมาให้คิดถึงเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก นอกนั้นเป็นเรื่องรองหมด
ถึงแม้จะยอมรับว่าระบอบประชาธิปไตยอาจจะยังไม่ใช่ระบอบที่สมบูรณ์แบบที่สุดในปัจจุบัน แต่ข้อดีของมันคือเป็นระบอบที่ยังอัพเดตให้ดีขึ้นได้       ต่างจากระบอบเผด็จการที่อาจเดินทางมาถึงทางตันจนไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้

คุณจะไปคาดหวังให้เขาเป็นในสิ่งที่ไม่ใช่ไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะเอาทหารประเทศไหนก็ตามมาบริหารประเทศก็ต้องเจอแบบนี้แหละ เพราะทหารส่วนใหญ่ถูกฝึกมาให้คิดถึงเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก นอกนั้นเป็นเรื่องรองหมด ดังนั้นทหารจึงมองทุกอย่างจากเลนส์ของความมั่นคง    โปเกมอนโกก็เป็นภัยความมั่นคงได้ ถ้าคุณเป็นนักธุรกิจ โปเกมอนโกอาจเป็นโอกาสทางธุรกิจ   ถ้าคุณเป็นวัยรุ่น โปเกมอนโกคือการพักผ่อนหย่อนใจ       แต่ถ้าคุณเป็นทหาร คุณจะมองว่าโปเกมอนโกเป็นภัยความมั่นคงหรือเปล่า เพราะโดยธรรมชาติเขาถูกฝึกมาปกป้อง คุ้มครองความปลอดภัยของพวกเรานี่แหละ”

ฉะนั้นพอเราเอาเผด็จการทหารมาใช้ในฐานะระบอบการเมือง นี่คือสิ่งที่คุณจะได้ คุณจะไปคาดหวังในสิ่งที่เขาไม่มีไม่ได้ ทั้งความโชติช่วงทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสมัยใหม่ การปรับตัวให้เข้ากับโลกภาย นอก       ในขณะที่ประชาธิปไตยมีความลื่นไหลยืดหยุ่นมากกว่า   แล้วก็มีตัวอย่างให้เห็นเป็นไม่รู้กี่สิบประเทศ     ระบอบเผด็จการสร้างแค่ความสงบ แต่เป็นความสงบที่มีต้นทุนสูงมาก และเป็นต้นทุนที่ถูกทำให้มองไม่เห็น เพราะมีการควบคุมข้อมูลข่าวสาร มีปัญหาเราก็พูดไม่ได้อย่างเต็มที่หรอก มันถึงดูสงบสุขดี ต้นทุนก็เลยสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ในการอยู่แบบสงบอย่างนี้

สุดท้ายถึงวันนี้เราจะเลือกไม่ได้ว่าจะอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองรูปแบบไหน แต่สิ่งที่เราพอจะทำได้คือพยายามเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นอยู่ให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้รู้เท่าทัน และช่วยกันเฝ้าระวังสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป เหมือนที่ประจักษ์ทิ้งท้ายไว้ว่า

วิกฤติในสังคมตอนนี้ ถ้าจะมีข้อดีอย่างหนึ่งที่ผมเห็นคือ อย่างน้อยสังคมไทยก็เรียนรู้แล้วว่าระบอบประชาธิปไตยมีความบกพร่องผิดพลาดได้ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอาจจะไม่ได้ดีเสมอไป เราจะได้รู้จักตรวจสอบนักการเมือง   รัฐบาล   หรือใครก็ตามที่ใช้อำนาจประชาชนผ่านการเลือกตั้งในนามของประชาธิปไตย “    แต่สิ่งที่ยังไม่เกิดก็คือ สังคมไทยยังไม่ได้วิพากษ์ หรือรู้เท่าทันระบอบเผด็จการเท่าๆ กับที่เราวิพากษ์ระบอบประชาธิปไตย พูดง่ายๆ คือสังคมไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังโลกสวยกับเผด็จการ เวลาพูดถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เราจะตื่นตัวมาก อยากจะตรวจสอบ

แต่พอเป็นระบอบเผด็จการ เรากลับบอกว่า ให้เขาบริหารบ้านเมืองไปเถอะ เดี๋ยวทุกอย่างจะดีขึ้นเอง ซึ่งจะว่าไปมันก็ประหลาดนะ

FACT BOX:
1984: นวนิยายที่พูดถึงโลกซึ่งมีสงครามตลอดกาล การสอดส่องดูแลของรัฐบาลทุกหนแห่ง และการชักใยสาธารณะทางการเมือง ภายใต้การควบคุมของอภิชน พรรคในที่มีอภิสิทธิ์ในการก่อกวนการคิดอย่างอิสระ โดยมี พี่เบิ้มหรือ Big Brother เป็นผู้นำพรรคกึ่งเทพ ซึ่งได้ประโยชน์จากลัทธิบูชาบุคคลที่เข้มข้น แต่อาจไม่มีอยู่จริง ซึ่งพรรคใช้อ้างเหตุผลในการปกครองอย่างกดขี่   ประพันธ์โดย จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) นักประพันธ์ชาวอังกฤษ



Tuesday, October 18, 2016

การแพ้ประชามติ ....ในโคลอมเบีย

การแพ้ประชามติในข้อตกลงสันติภาพ...ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นสำหรับโคลอมเบีย

 โดย  Jorge Martín    05 October 2016
วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม  ประชาชนชาวโคลอมเบียผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงได้ปฏิเสธข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับ กองกำลังปฏิวัติแห่งโคลอมเบีย-กองทัพประชาชน    หรือเรียกย่อๆว่าฟาร์ก (FARC / Revolutionary Armed Forces of Colombia—People's Army) “เพื่อยุติข้อพิพาทและสร้างสันติภาพที่มั่นคง”  จอร์จ มาร์ติน  ได้อธิบายถึงกระบวนการที่นำไปสู่การลงประชามติ    และสิ่งนี้จะหมาย ถึงอนาคตของการต่อสู้ทางชนชั้นในโคลอมเบีย   การลงคะแนน “ไม่” ชนะเพียงเล็กน้อยเพียง 54,000 คะแนนจากเสียงทั้งหมด 13 ล้านเสียง  ซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิ์ที่น้อยที่สุดของการลงคะแนนเสียงในระดับชาติในระยะ 22 ปี    ข้อตกลงระหว่างฟาร์ก  กับรัฐบาลโคลอมเบียได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก  สหรัฐฯ  สหภาพยุโรป  รวมไปถึงรัฐบาลของประเทศเวเนซูเอลลาและคิวบาเพื่อยุติสงครามที่ดำเนินมาเป็นเวลา 52 ปี   อะไรคือเนื้อหาของข้อตก ลง? ทำไมถึงมีการคัดค้าน?  และจะเกิดอะไรขึ้นในภายภาคหน้า?

ประวัติศาสตร์ของ ฟาร์ก
ขบวนการ ฟาร์ก เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี 1964 แต่ทางเดินของมันต้องย้อนกลับไปสูเหตุการณ์ลุกขึ้นสู้ โบโกตาโซ (Bogotazo..มาจากคำว่า "Bogotá"และต่อท้ายด้วย -azo  ซึ่งหมายถึงความรุนแรงวุ่นวาย)  ในกรุงโบโกตา เมื่อปี 1948   เหตุการณ์นี้ถูกจุดชนวนขึ้นจากการลอบสังหาร นาย อีเลเซ เกตาน นักการ  เมืองฝ่ายซ้ายที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมที่มีประชาชนนิยมอย่างกว้างขวาง    นาย เกตาน  โดดเด่นขึ้นมาจากการที่เขาประณามการสังหารหมู่กรรมกรมากกว่า2,000 คน ของ บริษัท ยูไนเต็ด ฟรุต บานานา ที่นัดหยุดงานในปี 1928 โดยกองกำลังของรัฐบาล     เขาเป็นผู้นำมวลชนในการต่อสู้คัดค้านพรรรคเสรีนิยมและพรรคอนุรักษ์นิยม   โดยการตั้งพรรคสหพันธ์นักปฎิวัติฝ่ายซ้ายแห่งชาติ(Revolutionary Left National Union /UNIR)  และต่อมาเขาได้ตัดสินใจที่จะผลักดันให้ความคิดของเขาภายในพรรคเสรีนิยม  

ปี 1946 เขาได้รับการคัดเลือกจากบรรดาพรรคฝ่ายซ้ายและพรรคเสรีนิยมปีกซ้ายให้เป็นตัวแทนในเข้า ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีโดยแข่งขันกับตัวแทนที่เป็นทางการของพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคเสรีนิยม  ได้คะแนนเป็นลำดับ 3  แต่ในพื้นที่ชนบทเขากลับเป็นผู้ที่ชนะคะแนนเสียงจากการสนับสนุนของกรรม และชนชั้นกลาง  เนื่องจากเขาโจมตีพวกอภิสิทธิ์ชน โดยมีนโยบายเพื่อความเป็นธรรมในสังคม..ปฏิรูปการเกษตร และคัดค้านจักรวรรดินิยม


 เหล่าผู้นำของFARC ระหว่างการเจรจาสันติภาพที่ คากูยัน  1998-2002 - Photo: DEA Public Affairs.html

ปี 1947 พรรคเสรีนิยมได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกสภาและเสียงส่วนใหญ่ในพรรคเสรีนิยมเป็นผู้สนับสนุน เกตาน   นั่นย่อมหมายถึงว่าเขาได้เป็นผู้นำพรรคและเป็นตัวแทนพรรคในการแข่งขันชิงตำ แหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 1950    บรรดาอภิสิทธิ์ชนต่างมีความตื่นตระหนกและคาดหมายว่าเกตานจะได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจ    ปฏิบัติการด้วยความรุนแรงเริ่มขึ้นด้วยการลอบสังหารบรร ดาแกนนำการเคลื่อนไหวของเกตาน     วันที่  9 เมษายน 1948 เกตานก็ถูกลอบสังหารกลางวันแสกๆในเมืองหลวงโบโกตา   นำไปสู่การจลาจลประท้วงรัฐบาลรัฐบาลอนุรักษ์นิยมของประชาชนทั่วประเทศและกล่าวหาว่าเป็นการกระทำของรัฐบาล

ดังนั้นจึงตามมาด้วยสงครามกลางเมืองที่ไม่ประกาศระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคเสรีนิยมมาเป็นเวลาสิบปีที่รู้จักกันในนาม “ลา วิโอเลนซา”(The Violence)  ซึ่งพรรคเสรีนิยมได้ก่อตั้งหน่วยรบจรยุทธและกองกำลังป้องกันตนเองของชาวนาขึ้น    พรรคคอมมิวนิสต์ก็มีบทบาทในการจัดตั้งภายในองค์กรป้องกันตนเองของชาวนาด้วย         เพื่อตอบโต้กับกองกำลังพิทักษ์ขาวที่อื้อฉาวของบรรดาเจ้าที่ดิน
ปี 1957-58 ผู้นำพรรคเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมได้มีการเจรจาตกตงกันในกรณีพิพาทโดยมีการลงนามกันในข้อตกลงว่าด้วยการเป็นแนวร่วมแห่งชาติ     ชาวนาจำนวนมากที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีพิพาทต่างไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับเนื่องจากพวกเขาเห็นว่าถูกทรยศจากบรรดาผู้นำ    บางส่วนมีความประทับใจในการปฏิวัติของประชาชนชาวคิวบาเมื่อปี 1959     พันธมิตรระหว่างชาวคอมมิวนิสต์และกำลังจรยุทธิของฝ่ายเสรีนิยมก็ยังดำเนินการต่อสู้ต่อไปโดยการสถาปนา “สาธารณรัฐ มาเควตาเลีย” ขึ้น     ซึ่งความจริงเป็นเพียงพื้นที่เล็กๆที่พิทักษ์โดยกองกำลังติดอาวุธแค่ 44 คน  ภายใต้การนำของ มานูเอล มาารูอันดา “ทิโรฟิโฮ” และ จาโคโบ อารีอัส เป็นเรื่องที่เปี่ยมอันตรายและมหัศจรรย์ยิ่งที่กองกำลังกระจิดริดนี้ เคลื่อนไหวอยู่ท่ามกลางวงล้อมของกองทัพรัฐบาล    เป็นการนำไปสู่การก่อตั้งกองกำลังปฏิวัติแห่งโคลอมเลีย(FARC)  ในปี 1964    นโยบายของพวกเขาได้แก่การต่อสู้เพื่อการปฏิรูปเกษตรกรรมโดยผ่านการยึดที่ดินที่ว่างเปล่า(ของเจ้าที่ดิน)แล้วแบ่งสรรให้แก่ชาวนา

ดังนั้น.....กองกำลังจรยุทธของ ฟาร์ก จึงมีรากฐานและเงื่อนไขทางสังคมที่ดำรงอยู่ตลอดมาในโคลอม เบีย :- ความแตกต่างกันอย่างมากมายในการกระจายที่ดินและความโหดเหี้ยมของเจ้าที่ดินและรัฐ(จากการสนับสนุนอย่างเต็มที่โดยจักรวรรดิ์นิยมอเมริกา)      กรณีเช่นนี้..ส่วนใหญ่แทบจะไม่เคยมีการเปลี่ยน แปลงแต่อย่างใดมาเป็นเวลา 5 ทศวรรษ ตั้งแต่มีการก่อตั้ง ฟาร์ก มาตลอดระยะเวลายายาวนาน     ประ
วัติศาสตร์ที่ล้มเหลวในความพยายามเจรจาตกลงกันเรื่องสันติภาพระหว่างรัฐบาลโคลอมเบียกับขบวน การฟาร์กและกลุ่มจรยุทธิ์ต่างๆก่อนหน้านี้มีบทบาทสำคัญด้วย    ปี 1985-86 ฟาร์กและองค์กรปีกซ้าย ต่างๆได้พยายามก่อตั้งองค์กรทางการเมือง แพทริโอติค ยูเนียน (UP)ที่ถูกกฎหมายขึ้นมาเพื่อเป็นส่วน หนึ่งในการเจรจากับประธานาธิบดี เบตันเคอร์       พรรค UP ได้กลายมาเป็นพรรคการเมืองอันดับสามของประเทศไปอย่างรวดเร็วได้รับการสนับสนุนจากบรรดากรรมกรและชาวนาอย่างมากมาย      ชนชั้นปกครองไม่อาจให้เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้น   

ในช่วงระนะเวลาสั้นๆ..ตัวแทนพรรคผู้สมัครแข่งขันประธานาธิบดี 2 คน  สมาชิกรัฐสภา 8 คน  ส.ส.13 คน  สมาชิกสภาท้องถิ่น70 คน นายกเทศมนตรี 11 คน และสมาชิกพรรคอีก 3500 คนถูกลอบสังหาร     พร้อมๆกับการรณณรงค์ที่เรียกว่า “เต้นรำแดง”  ที่ดำเนินการไปพร้อมๆกับการเข้าร่วมของรัฐและกลุ่มติดอาวุธกึ่งทหารเพื่อยับยั้งป้องกันการเติบใหญ่ของพรรค UP      ปี 1990 การแยกเจรจาสันติภาพนำนำไปสู่การวางอาวุธของกลุ่มนักรบกองจรยุทธ M19  เพื่อเข้าสู่การเลือก ตั้ง   แต่ คาร์ลอส ปิซซาโร ตัวแทนผู้สมัครแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของกลุ่ม  ถูกฆ่าตายกลางวันแสกๆในกรุงโบโกตา โดยมือปืนรับจ้าง

อัลฟองโซ  คาโน  ผู้นำ FARC ที่ถูกลอบสังหาร Photo: US State Department/Public DomainIn
พลวัตรของกองทัพกองจรยุทธิขนาดใหญ่คือความจำเป็นในด้านเงินทุน..ผลักดันให้ฟาร์กใช้วิธีการที่ทำลายรากฐานการสนับสนุนของตนเองด้วยการจัดเก็บภาษีด้านธุรกิจต่างๆ(รวมไปถึงการผลิตและการลำเลียงยาเสพย์ติด)ในพื้นที่ๆพวกเขาเคลื่อนไหวอยู่.. ก่อการร้ายด้วยการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆและแม้แต่เป้าหมายทางพลเรือน..ลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่และอื่นๆ.สิ่งเหล่านี้ได้ถูกรัฐนำไปใช้โฆษณา ชวนเชื่อและรณณรงค์ด้วยความช่ำชอง  ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนชนชนชั้นต่างๆ
ในสภาพแวดล้อมที่ถูกปราบปรามอย่างหนักจาก กองทัพ..ตำรวจ หน่วยสืบราชการลับ  และกองกำลังกึ่งทหาร( ทั้งหมดมีการร่วมมือกัน)....ส่งผลให้ยุทธวิธีของสงครามกองโจรที่มีประสิทธิภาพของฟาร์ก ถูกตัดขาดจากการเคลื่อนไหวของกรรมกรและเยาวชนในเมือง       และแม้กระทั่งความสัมพันธ์ในส่วนของชาวนา    ในทศวรรษที่ 1960 ในช่วงเวลาของการก่อตั้งองค์กร   ประชากชนในชนบทของโคลอม เบียมีประมาณ 55% ของประชาชนทั้งหมด    แต่ปัจจุบันได้ลดน้อยลงไปกว่า 25%   ประชากรในชน บทจำนวนมากได้อพยพหลั่งไหลกันเข้าไปอาศัยในเมืองส่วนหนึ่งเนื่องจากความรุนแรง   จากประมาณการมีถึง 7ล้านคน     ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการปกติของการพัฒนาของระบบทุนนิยมซึ่งเกิดขึ้นในประ เทศอื่นๆในลาตินอเมริกา 

อัลวาโร  ยูริเบ (Álvaro Uribe)- Photo:Center for American Progress
ประธานาธิบดี อัลวาโร ยูริบี ได้รับเลือกตั้งในปี 2002 เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าถึงจุดเปลี่ยน    เขาเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของอภิสิทธิ์ชนที่เน่าเฟะของโคลอมเบีย.. จากพื้นฐานของเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์  พวกขนยาเสพย์ติดที่หนุนหลังโดยกองกำลังกึ่งทหาร   เป้าประสงค์ของเขาค่อนข้างจะธรรมดา: คือการบดขยี้ทำลายขบวนการฟาร์กไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆที่มีความจำเป็น   เขาต้องการ “ทำให้ประเทศเป็นที่ปลอดภัยของระบอบทุนนิยม”      และด้วยเหตุผลนี้ทำให้เขาต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากกลุ่มทุนหลักๆของโค ลอมเบีย   รัฐบาลสหรัฐฯ   และความร่วมมือจากนานาชาติ

แม้แต่ นสพ.วอชิงตัน โพสต์  ก็ได้อธิบายถึงนโยบายของ อูริเบ ในแง่ที่น่ากลัวมากเช่น :  “ด้วยการสนับสนุนจากสหรัฐฯ    รัฐบาลโคลอมเบียเริ่มตอบโต้ด้วยการเผาเรียบ ฐานที่มั่นของ ฟาร์ก ในท้องถิ่นชนบทหลังจากประธานาธิบดี อูริเบ ได้รับเลือกตั้งในปี 2002    กำลังทหารของรัฐบาลซึ่งมักจะตามมาด้วยกลุ่มติดอาวุธฝ่ายขวาโดยมีเป้าหมายต่อพลเรือนผู้ถูกสงสัยว่าเข้าข้างกลุ่มกบฎด้วยการสังหารหมู่    ชาวโคลอมเบียส่วนมากจะหลบหนีออกจากบ้านในระหว่างขั้นตอนแรกของแผนการโคลอมเบียมาก  กว่าในช่วงเวลาอื่นๆที่ความขัดแย้งดำเนินมากกว่ากึ่งศตวรรษ(แผนโคลอมเบีย : วิธีที่วอชิงตันชอบที่จะเรียนรู้ในการเข้าแทรกแซงในละตินอเมริกาอีกครั้ง)

จากการร่วมมือกันของลัทธิกึ่งทหาร..แผนโคลอมเบีย... การแทรกแซงของสหรัฐฯ และการแพร่ขยายของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในส่วนของกองทัพ     มีผลกระทบต่ออย่างรุนแรงต่อความเข้มแข็งและสมรรถนะในการสู้รบของ ฟาร์ก ที่จะดำเนินต่อไปได้    ในการปฏิบัติการกดดันอย่างต่อเนื่องนี้..ทำให้ผู้นำหลายๆคนถูกสังหาร 

วาระของประธานาธิบดี อูริเบ สิ้นสุดลงท่ามกลางความอื้อฉาวของระบอบ  ”การเมืองแบบกึ่งทหาร” ที่เชื่อมโยงเขาให้ใกล้ชิดกับกลุ่มพันธมิตรกองกำลังกึ่งทหาร..     การดักฟังนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามอย่างผิดกฎหมายโดยหน่วยราชการลับ DAS  ในที่สุดก็คือการ ”คาดการผิด” ยังผลให้คนของกองทัพเข่นฆ่าพลเรือนและนำพวกเขาเข้าไปเป็นนักรบจรยุทธ

ยูริเบ  ลงจากอำนาจในปี 2002 เมื่ออดีตรัฐมนตรีกลาโหมของเขานาย ซานโตส รับช่วงอำนาจต่อในฐานะประธานาธิบดีซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่ง       ทั้งคู่เป็นนักการเมืองชนชั้นนายทุนปฏิกิริยาที่มาจากและเป็นตัวแทนของชนชั้นที่ต่างกันของชนชั้นปกครองโคลอมเบียที่มียุทธศาสตร์ที่ต่างกัน    ยูริเบ คือตัวแทนของเจ้าที่ดินและเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์...ที่มีปัญหากับชาวนาในท้องถิ่นชนบทซึ่งเป็นรากเหง้าของการก่อตั้งการสู้รบแบบกองโจร     ทั้งคู่ได้สร้างและให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กองกำลังกึ่งทหารที่กระหายเลือด        ใช้ความสยดสยองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเหล่าอภิสิทธิ์ชน     ยุทธศาสตร์ในการบรรลุสันติภาพของพวกเขาคือการทำลายล้างเหล่านักรบจรยุทธในทุกวิถีทางที่จำ เป็น   ด้านหนึ่ง..ซานโต้ส มาจากครอบครัวนายทุนที่มั่งคั่งในโบโกตา    เป็นตัวแทนในปีกของชนชั้นปกครองที่มองว่าการสู้รบแบบกองโจรนั้นเป็นอุปสรรคต่อ”การพัฒนา” ของระบอบทุนนิยมและการปล้นชิงของจักรวรรดิ์นิยมมิให้ก้าวต่อไปข้างหน้า      เขาระลึกอยู่เสมอว่าถ้าไล่ต้อนฟาร์กให้เข้ามุมอับก็จะสามารถพิชิตชัยได้    ยุทธวิธีในการไปสู่สันติภาพของเขาคือการนำเหล่านักรบจรยุทธเข้ามาสู่ชีวิตพลเรือนตามปกติ
อีกด้านหนึ่ง..ขบวนการฟาร์กก็ตระหนักดีว่าภายหลังการต่อสู้มาอย่างยาวนานมากว่า 40 ปีพวกเขาก็ยังไม่สามารถเข้าใกล้เจตนารมณ์ได้     ในทางกลับกันกองกำลังของตนต่างลดลงอยู่เรื่อยๆ..ประชาชนที่ให้การสนับสนุนได้หดหายไป  ส่วนบรรดาผู้นำต่างก็เลิกราไปคนแล้วคนเล่า...นี่จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานที่นำไปสู่การเจรจาสันติภาพเมื่อเร็วๆนี้..ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 2012
ประสบการณ์ของการปฏิวัติโบลิวาเรียนในเวเนซูเอลลามีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ฟาร์กเข้าสู่ ยุทธศาสตร์ที่แตกต่างออกไป..โดยละทิ้งการต่อสู้ด้วยอาวุธและเข้าสู่การเคลื่อนไหวมวลชนและมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง     สำหรับการชี้นำของคิวบาซึ่งเป็นตัวแทนในการทำข้อตกลงนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความปรารถนา(ของคิวบา)ที่จะเปิดทางสำหรับการสถาปนาความสัมพันธ์กับสหรัฐอีกครั้ง
ข้อตกลงสันติภาพประกอบด้วยอะไร?

ถ้าจะมองถึงรายละเอียดของข้อตกลงสันติภาพ      เราสามารถมองเห็นเนื้อแท้ของมันคือการปลดอาวุธกองกำลังของฟาร์ก      เพื่อจะทำให้ประเทศมีความปลอดภัยสำหรับการลงทุนจากต่างชาติรวมถึงการเกษตรกรรมด้วย

ส่วนแรกของข้อตกลงได้แก่การปฏิรูปการเกษตร      การแบ่งสรรที่ดินในโคลอมเบียมีความไม่เท่าเทียมกันมากเหลือเกิน        ดังนั้นมันจึงเป็นรากเหง้าของความขัดแย้งหลักที่ทำให้เกิดการสู้รบแบบกองโจรขึ้นมามากกว่า 5 ทศวรรษ    จากการสำรวจประชากรในภาคเกษตรกรรมพบว่าเจ้าที่ดินจำนวน 0.4 % ครอบ  ครองที่ดินเพื่อการเกษตรถึง 46%   ในขณะที่เจ้าของที่ดิน 70% ถือครองที่ดินสำหรับทำการเพาะปลูกได้แค่ 5% เท่านั้น   ตลอดระยะ 20 ปีที่ผ่านมาที่ดิน 10 ล้านเฮคตาร์(62,500,000 ไร่) ถูกเปลี่ยนมือไปจากเจ้าของเดิมที่เป็นชาวนาขนาดเล็กโดยผู้ครอบครองหลักซึ่งได้แก่เจ้าที่ดินรายใหญ่  ในท้องถิ่นชนบท..ประชากร 65% มีชีวิตอยู่ใต้เส้นความยากจน(ในเมือง 30%)  ในจำนวนนี้มีถึง 33% ที่ยากจนสุดขีด     60% ของชนบทไม่มีน้ำประปาใช้  และ19%ไม่รู้หนังสือ

เนื้อหาในข้อตกลงเต็มไปด้วยถ้อยคำและคำสัญญาที่สละสลวย      แต่ไม่มีรายละเอียดที่เป็นรูปธรรม   แสดงไว้ว่าจะก่อตั้งกองทุนที่ดิน 3 ล้านเฮคตาร์ภายใน 10 ปีข้างหน้าเพื่อจัดสรรให้แก่ชาวนา   นั่นเท่า กับว่าเป็นเพียงจำนวน 1 ใน 3 ของที่ดินที่เอาไปจากชาวนา     ในส่วนที่สองของข้อตกลงเกี่ยวกับการ  ” เปิดประชาธิปไตย”  ประกอบไปด้วยข้อสัญญาที่โอ่อ่าโดยรัฐบาลโคลอมเบียประกาศ   “สนับสนุนการเมืองหลายขั้ว”   “สร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือ”  และ  "ต่อสู้กับการกดขี่ข่มเหงของผู้นำพรรคและการเคลื่อนไหวทางการเมือง”    ส่วนที่สามเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการยุติข้อพิพาท..การหยุดยิง..และการวางอาวุธ    นี่เป็นส่วนที่มีเนื้อหาสาระสำคัญมากที่สุดของข้อตกลง   เป็นการกำหนดขั้นพื้นฐานซึ่งฟาร์กจะกลายฐานะมาเป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎหมาย        นักรบของขบวนการแต่ละคนจะได้รับเงิน 2 ล้านเปโซ (ประมาณ 23,000 บาท)เมื่อวางอาวุธ     จะได้เข้าร่วมในโครงการลงทุนการผลิตมูลค่า 2,700 เหรียญสหรัฐฯ(ประมาณ 94,500 บาท)    ซึ่งมีมูลค่าเทียบเท่ากับ 90% ของค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับ 2 ปี  

การรณณรงค์ทางการเมืองของพรรคใหม่ในที่สาธารณะจะได้รับการประกันทางการเงินสำหรับการเลือกตั้งสองครั้งที่จะเกิดขึ้น     และรับประกันที่นั่งในสภาสูง 5 ที่นั่ง   และอีก 5 ที่นั่งในรัฐสภาเป็นระ ยะเวลา2 สมัย       ฟาร์ก จะต้องรวบรวมนักรบของตนในพื้นที่ต่างๆในระยะเวลา 180 วันในขณะที่กระ บวนการยอมมอบอาวุธกำลังดำเนินไป        ข้อตกลงส่วนที่ 5 ได้ระบุไว้ว่าใครที่มอบอาวุธจะได้รับการนิรโทษกรรมในกรณี  ”ความผิดที่เกี่ยวกับการกบฎ”   และใครที่มีส่วนในการก่ออาชญากรรมในยามสง ครามหรือทำความผิดด้านสิทธิมนุษยชนจะถูกแยกดำเนินคดีเฉพาะส่วนความผิด..กระบวน การมอบอา วุธจะอยู่ภายใต้การควบคุมร่วมกันของ    รัฐบาล  ขบวนการฟาร์ก  และสหประชาชาติ

ส่วนที่ 4 ของข้อตกลงได้กล่าวถึงปัญหายาเสพย์ติดที่ผิดกฎหมาย       ข้อตกลงมุ่งไปยังการปลูกพืชทดแทน(ซึ่งค้านกับนโยบายปัจจุบันเกี่ยวกับการอบและรมควัน)  อย่างไรก็ตาม..เรื่องนี้คงไม่ใช่งานที่ง่ายนักในเมื่อความยากจนยังกระจายอยู่ไปทั่วในชนบท     และยาเสพย์ติดก็ยังเป็นพืชที่สร้างกำไรให้อย่างงามมากกว่าทางเลือกอื่น
ข้อตกลงยังได้กล่าวถึงปัญหาของเหยื่อที่เกิดจากความขัดแย้งในส่วนที่ 5    จะตั้งหน่วยงานขึ้นเป็นกรณีพิเศษให้เป็นไปตาม  "ความเป็นจริง  ยุติธรรม,  แก้ไขและไม่มีการรื้อฟื้น"  กระบวนการยุติธรรมประกอบด้วยคณะผู้พิพากษา24 คนในการทำข้อตกลงกับสมาชิกของ FARC และองค์กรของรัฐ  นัก  รบจรยุทธที่เคย ”ทำความผิดโดยเกี่ยวข้องกับการกบฏ”  จะได้รับการนิรโทษกรรม    ผู้ใดที่ทำความ ผิดในการทำสงครามหรือก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ..  ยอมรับสารภาพโดยให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับศาลพิเศษที่ก่อตั้งขึ้นจะได้รับโทษสูงสุดแปดปี..แต่จะถูกกักขังภายในบ้านแทนการจำคุกและจะไม่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง      ส่วนผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมือและพบว่ามีความผิดจะถูกลงโทษจำคุกสูงสุด 20 ปี   ขบวนการฟาร์กได้ให้ความร่วมมืออย่างเป็นระบบ และได้จัดการประชุมร่วมกับชุมชนที่มีการสังหารหมู่อย่างต่อเนื่องด้วยความมุ่งมั่นที่จะแสวงหาการอภัยโทษ
สุดท้าย..ส่วนที่ 6 ของข้อตกลงที่เกี่ยวกับการดำเนินการตรวจสอบและอนุมัติ  ในส่วนนี้โดยทั่วไปเป็นข้อตกเกี่ยวกับด้านเทคนิคในการควบคุมดูแลของหน่วยงานระหว่างประเทศตามข้อตกลงดังกล่าวเกี่ยวกับการลงประชามติ(ที่แพ้ไป)    และด้านอื่นๆในเรื่องเวลาและวิธีการที่แตกต่างกันในแง่มุมของข้อตกลงที่จะดำเนินการ
นี่คือสิ่งที่เขียนไว้ในสัญญาที่รัฐบาลโคลอมเบียและ FARC ได้ร่วมกันลงนามอย่างเป็นพิธีการต่อหน้าสาธารณะและตัวแทนผู้ทรงเกียรติ์จากต่างประเทศเมื่อวันที่ 26 กันยายน...  มันหมายความว่าอะไร?  โดยเนื้อแท้แล้ว..นี่คือข้อสัญญาที่รัฐโคลอมเบียตกลงใจโดยมีเงื่อนไขให้ฟาร์กยกเลิกการต่อสู้ด้วยอาวุธ     รวมไปถึงการรวบรวมนักรบจรยุทธ์ทั้งหลายเข้าสู่การใช้ชีวิตแบบพลเรือน..การเปลี่ยนสภาพของขบวนการ ฟาร์กไปสู่การเป็นพรรคการเมืองและให้มีการนิรโทษกรรมแกสมาชิกอย่างถ้วนหน้า
ฟาร์กต้องการอะไรที่นอกเหนือไปจากการละทิ้งการต่อสู้ด้วยอาวุธโดยที่สมาชิกจะไม่ถูกสังหารหมู่และความเป็นไปได้ที่จะรักษานโยบายของตนโดยผ่านปัจจัยที่ถูกกฎหมาย  รัฐโคลอมเบียมีความปรารถนา ที่จะยุติความขัดแย้งเพื่อสร้างเงื่อนไขที่ดีกว่าสำหรับการเอื้อประโยชน์ให้แก่ทุนนิยม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท   รวมถึงการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
แน่นอน..ข้อตกลงไม่อาจแก้ปัญหาได้ในทุกๆเรื่องที่เคยเป็นปัจจัยหลักในการนำไปสู่การก่อตั้ง FARC (โดยเฉพาะปัญหาการปฏิรูปเกษตรกรรม)     สำหรับเรื่องการยุติความรุนแรงทางการเมืองนี่ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสัยอยู่เช่นเดียวกัน    หลังจากเจรจากันมาตลอด 10 ปี ในประเด็นการยกเลิกกองกำลังกึ่งทหาร   กลุ่มเหล่านี้ก็ยังเกิดขึ้นอีกภายใต้หน้ากากที่แตกต่างกันไป     ซึ่งเป็นที่รู้กันในนาม “บาคริมส์” (แก๊งอาชญากร)     ยังทำการเคลื่อนไหวอยู่และลอบสังหารผู้นำสหภาพแรงงานและนักเคลื่อนไหวชาวนา   พร้อมกับโจมตีชุมชนชาวนาในนามของชนชั้นนายทุนและเจ้าที่ดินใหญ่
ปัญหาที่เพิ่มขึ้นมาของ ฟาร์ก    คือความเป็นจริงที่ว่ายุทธศาสตร์การเมืองของผู้นำคือหนึ่งในขั้นตอนการปฏิวัติ      พวกเขามักจะยืนยันแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตรกับบรรดาผู้รักชาติทั้งหมดในระดับกว้างทั่วประเทศอยู่เสมอ (ซึ่งพวกเขารวมเอาชนชั้นนายทุนและเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ส่วนหนึ่งเข้าไว้ด้วย)  เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาของระบบทุนนิยมแบบจำกัดขอบเขต


            ประธานาธิบดีฮวน  มานูเอล ซานโตส  กับฮิลลารี คลินตัน  - Photo: US State Department/Public Domain

จากสภาพที่เป็นจริง.....มันไม่ได้สอดรับกับระบบการจัดการที่พวกเขาได้รับมรดกมาจากลัทธิสตาลินเลย     สำหรับชนชั้นปกครองพวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญแต่อย่างใดหรือพร้อมที่จะตระหนักถึงการปฏิรูประบบเกษตรกรรมอย่างจริงจังและวางพื้นฐานสำหรับการพัฒนาความก้าวหน้าของประเทศและการปกป้องอธิปไตยของชาติ     ชนชั้นปกครองของโคลอมเบียนั้นมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอยู่(การประทะกันในการเดินขบวนระหว่าง ยูริเบ และ ซานโตส ในการลงประชามติ)      แต่ในขณะเดียวกันฝักฝ่ายทั้งหลายต่างก็มีความหวาดกลัวต่อการเคลื่อนไหวปฏิวัติของกรรมกรและชาวนา      จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งถ้าหากการเปลี่ยนแปลงจะเป็นการเคลื่อนไหวนำไปสู่การก่อตัวของพรรคการเมือง       ที่บรรดาผู้นำต่างก็ต่อต้านนโยบายที่อ่อนปวกเปียกของนักปฏิรูป

ในอดีตเราได้เห็นในหลายๆกรณีมาก่อนที่การเคลื่อนไหวจรยุทธกลายมาเป็นการเคลื่อนไหวทางการ เมือง  โดยผู้นำของพวกเขาได้ปกป้องนโยบายสังคมประชาธิปไตยแบบอ่อนๆ  หรือในอีกหลายกรณีที่ยอมเข้าร่วมในทุกๆนโยบายกับชนชั้นนายทุน (กรณีของ โจอาคิม วิลยาโลโบส จาด เอล ซัลวาดอร์)   นัยยะของเรื่องนี้เราได้เห็นกันอยู่แล้วระหว่างการเจรจาสันติภาพ..    เมื่อผู้นำของฟาร์กออกนอกลู่นอกทางโดยยืนยันว่าพวกเขาไม่ได้ต่อต้านการมีทรัพย์สินส่วนบุคคล     ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเซอร์มานยา     รอดดิโก ลอนโดโน ทิโมเชนโก  ถูกถามเกี่ยวกับมุมมองของนักรบจรยุทธในเรื่องระบอบทุนนิยมและวิสาหกิจเสรี    เขาตอบว่า..”เราไม่เคยพูดเลยว่าเราต่อต้านทรัพย์สินส่วนตัว   สิ่งที่เราคัดค้าน คือการแสวงหาผลประโยชน์ที่มากเกินไป...เราต่อต้านความไม่เท่าเทียมอย่างมากในการกระจายความ มั่งคั่งที่เรามีอยู่ในโคลอมเบีย”
ในการให้สัมภาษณ์ครั้งเดียวกันเขายังได้อธิบายว่า ขบวนการฟาร์กได้พบปะกับนักธุรกิจชาวโคลอม เบียที่มีชื่อเสียงในกรุงฮาวานาซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาสันติภาพ  เขากล่าวว่า..”พวกเขาพึงพอใจในคำอธิบายที่ให้ไปเกี่ยวกับกระบวนการที่จะดำเนินไปในอนาคต    กระบวนการนี้ไม่ได้มีเป้า หมายในการต่อต้านนายจ้าง”     ทิโมเชนโก ยังให้คำอธิบายอีกว่า..”สิ่งที่เราต้องการคือประเทศโค ลอมเบียที่มีการพัฒนา  พัฒนาปัจจัยการผลิต  เรามีความจำเป็นในการช่วยอุตสาหกรรมของชาติบนความมั่งคั่งของเราเอง”

การลงประชามติ

การได้รับชัยชนะในการลงประชามติในข้อตกลงสันติภาพสร้างความประหลาดใจแก่ทุกคน   ข้อคิดเห็นของโพลหลักๆต่างก็ให้ผ่าน(yes)ด้วยคะแนนเสียงมากกว่าสองต่อหนึ่ง      ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากปีกซ้ายส่วนใหญ่ในพรรคของ Uribe   FARC,  คิวบาและเวเนซุเอลา   สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา  รวมไปถึงสมเด็จพระสันตะปาปาด้วย

ส่วนฝ่ายที่คัดค้าน(NO) ส่วนมากถูกครอบงำโดย ยูริเบ ประธานาธิบดีคนก่อนที่ต่อต้านข้อตกลงสันติ ภาพโดยรณณรงค์ปลุกผีคอมมิวนิสต์อย่างบ้าคลั่ง   เขาอ้างว่าข้อตกลงจะนำไปสู่ระบอบเผด็จการแบบ “คาสโตร-ชาวิสตา” (Chavista /ชาวิสตา คือกลุ่มมวลชนที่นิยมอดีตประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวช แห่งเวเนซูเอลลา)..และในไม่ช้า ทิโมเชนโก ผู้นำของฟาร์ก ก็จะกลายเป็นประธานาธิบดี..และเหนือสิ่งอื่นใดเขาเป็นผู้ชื่นชอบสันติภาพ..แต่(การเจรจาสันติภาพ)คือการยอมจำนนต่อพวกกบฏฟาร์ก      ผลประชามติออกมาใกล้เคียงกันมาก   จากผู้มาลงคะแนนเสียงเพียง 37.43% (13ล้านเสียงจากผู้มีสิทธิ์ 34.9 ล้านเสียงของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง)  โหวต NO  50.21% โหวต YES  49.78%   เป็นการลงคะแนนที่ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี  ซึ่งไม่ห่างจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกเมื่อปี 2014
อุปสรรคอย่างหนึ่งคือผลจากพายุเฮอริเคน แมทธิว ที่พัดเข้าสู่พื้นที่แถบชายฝั่งทะเลคาริบเบียนของประเทศในวันลงประชามติ    การลงประชาติจึงถูกรบกวนจากอุปสรรคในเขตต่างๆที่คะแนนเสียง YESชนะแต่ผลที่ออกมากลับน้อยกว่าที่คาดหมายไว้มาก     อย่างไรก็ตามจากเหตุรบกวนนี้ทำให้คะแนนออกมาสูสีกัน   แต่คำถามสำคัญอยู่ที่ว่า..ทำไมประธานาธิบดี ซานโตส และกลุ่มที่ต้องการให้มีการผ่านประชามติจึงไม่ระดมการเคลื่อนไหวรณณรงค์ในเขตเลือกตั้งเหล่านี้?


การเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบสองปี2014   (สีเขียว ซานโตส  สีแสด ซูลัวกา ) -  

ถ้าจะดูผลจากที่แสดงบนแผนที่    จะเห็นว่ามีความใกล้เคียงกันมาก  เหมือนที่เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่สองในปี 2014 ระหว่างซานโตสกับ ซูลัวกา  ที่ยูริเบให้การสนับสนุน  พื้นที่บริเวณชายฝั่งและติดพรมแดนจะโหวต “ผ่าน”  ในขณะที่พื้นที่ส่วนกลางจะออกเสียง “ไม่ผ่าน”



Colombia Referendum Map - Image: Registraduría Nacional Colombia

พื้นที่ส่วนกลางเหล่านั้นเคยลงคะแนนเสียงให้  ซูลัวกา ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่สอง ยก เว้นเขตซานตาดาร์ และซานตาดาร์เหนือ ที่เคยลงคะแนนให้ซ่านโตสเมื่อปี 2014  แต่กลับโหวต “ไม่ผ่าน” ในการลงประชามติ     พื้นที่แถบนี้มีพรมแดนติดกับเวเนซูเอลลา ซึ่งกำลังประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วงและเกิดปัญหาความขาดแคลนอย่างรุนแรง    บางทีสถานการณ์ของเวเนซูเอลลา อาจจะมีบทบาทสำคัญต่อการพิจารณาในการสร้างข่าวลือที่น่าตื่นตระหนกของ ยูริเบ เกี่ยวกับระบอบเผด็จการของ “คาสโตร-ชาวิสตา.  ก็เป็นได้

ในการลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีรอบที่สอง   มีผู้มาลงคะแนนเสียงทั้งหมด 15.3 ล้านเสียง(คิดเป็น47.8% ของผู้ทีสิทธิ์)    แต่ครั้งนั้นอยู่ที่ว่าปัญหาของการตกลงสันติภาพยังก้ำกึ่งกันอยู่    ซานโตสได้คะแนน 7.8 ล้านเสียง     ขณะซูลัวกา คนของยูริเบ ได้ 7 ล้านเศษๆ   ถ้าจะเทียบผลครั้งนั้น(การเลือกประธานาธิบดี)กับการลงประชามติจะเห็นว่า  ซานโตสมีคะแนนลดลงถึง 1.5 ล้านเสียงขณะที่ฝั่งยูริเบ คะแนนลดลงไปห้าแสนคะแนน   นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม “เห็นชอบ” จึงแพ้   เพราะว่าประชาชนไม่ เหตุได้มีความกระตือรือล้นที่จะไปลงคะแนน    เหตุบังเอิญที่มีพายุเฮอร์ริเคนนั้นก็เป็นปัจจัยอันหนึ่ง   ที่สำคัญมากคือ..ในพื้นที่ๆได้รับผลกระทบรุนแรงระหว่างที่เกิดความขัดแย้งจะเป็นที่ๆมีคะแนนโหวต “เห็นด้วย” ค่อนข้างสูงมาก      โดยเฉพาะในเขต โชโค 79%  เคาคา 67%   นารินโย 64 %  พูตูมาโย 65.5 %  และ วาอูเปส 78%     ในเมืองโบฮายา ในเขตโชโค ที่เกิดการสังหารหมู่ขึ้นเมื่อปี 2002 ในขณะเกิดการรบระหว่ากำลังกึ่งทหารและสมาชิกฟาร์ก     คะแนนโหวต “เห็นด้วย” มากถึง 95%

ส่วนที่คะแนนเสียงโหวต “ไม่ผ่าน” คือพื้นที่ๆอยู่ภายใต้อิทธิพลและการควบคุมอย่างเข้มงวดของเครือ ข่ายทางการเมือง..กองกำลังกึ่งทหาร ของ ยูบิเร  และโดยกลุ่มผลประโยชน์ของบรรดานายทุนและเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์   ที่มีการต่อต้าน”คอมมิวนิสต์” อย่างรุนแรง  และต่อต้านซานโตส ด้วย
ผสมผสานไปกับปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้ว..เราจำเป็นต้องมีความเข้าใจต่อเศรษฐกิจของโคลอม เบียเรื่องราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ถูกกระทบจากการพังทลายของราคาน้ำมัน        ราคาน้ำมันดิบของโคลอมเบียลดลงอย่างฮวบฮาบกว่า 50%ในช่วงสองปีที่ผ่านมา    ในบริบทนี้..ความคิดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเพิ่มสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการวางอาวุธของขบวนการฟาร์ก ไม่ได้เป็นที่ถูกใจของชนชั้นนายทุนน้อยส่วนใหญ่
ซานโตส นั้นเป็นประธานาธิบดีที่ไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมมากนัก...ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งฝ่ายขวาอย่างยูริเบ..และฝ่ายซ้าย จากสหภาพแรงงาน  นักศึกษา  เกษตรกร  และการเคลื่อนไหวทางการเมือง  ที่กำลังเคลื่อนไหวต่อต้านนโยบายประหยัด-ตัดลด และ การแปรรูปวิสาหกิจ .การขัดขวางโจมตีสิทธิประชาธิปไตยและการกดดันการเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างต่อเนื่อง   ในบริบทนี้หลายคนเริ่มสงสัยต่อคำสัญญาของเขาในเรื่องการตกลงสันติภาพ     

ประชาชนชั้นล่างอันไพศาลของโคลอมเบียมีความต้องการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนในเรื่องการถือครองที่ดิน..ความยากจน...การศึกษา..สาธารณสุข...ที่อยู่อาศัย..ความรุนแรงของรัฐ  เงินเฟ้อ..การละเว้นโทษให้แก่กองกำลังกึ่งทหาร   และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงของกองทัพ   ประชาชนต่าง  มองเห็นผลงานของซานโตสในเรื่องต่างๆเหล่านั้น      และไม่สามารถนำพาตัวเองออกมาลงคะแนนเสียงได้     ซานโตสต้องการเพียงใช้การลงประชามติเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามกฎหมาย..แต่ก็ผลตรงกันข้ามอย่างที่ต้องการ   กลายเป็นว่า ยูริเบ กลับเข้มแข็งขึ้น

อะไรต่อไป?
แม้ว่าด้านที่ลงคะแนนเสียงคัดค้านจะชนะประชามติแต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามีความจำเป็นจะต้องกลับไปสู่การต่อสู้ด้วยอาวุธอีก     ขบวนการฟาร์กได้ประกาศไปแล้วว่าพวกเขากำลังเริ่ม “ประกันคำพูดว่า..ไม่ใช้อาวุธ”   ประธานาธิบดี ซานโตส ยืนยันอีกครั้งว่าเขาต้องการให้ข้อตกลงเพื่อสันติภาพนี้ให้มีผลและเรียกร้องให้เป็น ”การเจรจาแห่งชาติ”   ในขณะที่ยูริเบได้ประกาศออกมาว่าเขาไม่ได้คัดค้านสันติ ภาพ..แต่เขาไม่เห็นด้วยกับข้อตกลง
แน่นอน..เรื่องนี้ยังคงเป็นสถานการณ์อันตราย    เป็นการกระหน่ำตีประธานาธิบดีซานโตสอย่างรุนแรงแม้ว่าไม่มีใครที่ต้องการให้กลับไปสู่สถานการณ์สงครามอีก...การยุยงปลุกปั่นโดยกลุ่มขวาจัด   กลุ่มกองกึ่งทหาร ก็ไม่สามารถขัดขวางและจุดประกายของความเป็นปรปักษ์ขึ้นมาได้อีก
อะไรคือสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในขณะนี้   หาก ซานโตส จะร่วมมือกับ ยูริเบ ในการต่อรองบางแง่มุมของการเจรจาครั้งใหม่    ยูริเบต้องการจะทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการลงโทษฝ่ายนำของ ฟาร์ก โดยต้องการให้ถูกลงโทษจำคุกและบรรดาผู้นำที่มีความโดดเด่นหลายคนของขบวนการให้พ้นไปจากการเลือกตั้งด้วย

ในส่วนของข้อเรียกร้องที่ ยูริเบ จงใจเยาะเย้ยถากถาง      เขาจะใช้เล่ห์กลทุกชนิดเพื่อปกป้องบรรดาผู้นำหน่วยกองกำลังกึ่งทหารไม่ให้ต้องเผชิญหน้าตุลาการในข้อกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม และ บางคนที่มีบทบาทสำคัญ      จะต้องไม่ถูกส่งไปสหรัฐฯในฐานะผู้รายข้ามแดนซึ่งบางคนถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพย์ติด( ดู ประวัติศาสตร์ลับ กำลังกึ่งทหารของโคลอมเบีย และสงครามยาเสพย์ติดของสหรัฐฯ ).

ยูริเบ กลัวว่าถ้าเมื่อพวกเขาถูกสอบสวนและมีความผิดในการละเมิดสิทธิมนุษยชน    มันจะเปิดโฉมหน้าที่แท้จริงของผู้ที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่แก๊งติดอาวุธกึ่งทหาร      ซึ่งบางเรื่องเขามีส่วนร่วมโดยตรง     ยูริเบ เรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในกองกำลังอาวุธที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งหมด     ขณะนี้การประชุมถูกกำหนดไว้เรียบร้อยแล้วรวมไปถึง ยูริเบและซานโตส  เพื่อหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป   ซึ่งดูเหมือนว่า ยูริเบ จะถูกกดดันจากกลุ่มชนชั้นปกครองไม่ให้สร้างสถานการณ์ให้กลับไปสู่ความรุนแรงอีก

ทางด้าน ฟาร์ก คงจะถูกบีบให้ยอมรับข้อตกลงไปก่อน   พวกเขาเริ่มทำลายวัตถุระเบิดไปแล้วส่วนหนึ่งแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ  และเตรียมการช่วยเหลือเหยื่อด้วยเงินทุนของตนเอง(บางเรื่องที่พวกเขาได้ปฏิเสธมาก่อน)   พวกเขาไม่มีทางเลือกปฏิบัติให้เป็นอย่างอื่นได้และพร้อมที่จะดำเนินการไปตามแนวทางที่ได้ให้คำมั่นไว้ที่จะเลิกการต่อสู้ด้วยอาวุธ   เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่พวกเขาอาจจะต้องการนำปัญหาซึ่งถูกตัดทิ้งไปกลับเข้าสู่วาระการประชุมอีก
ในสถานการณ์ยังมีปัจจัยหลักๆอย่างอื่นอีก   การรื้อฟื้นการเคลื่อนไหวของกรรมกร  นักศึกษา  ชาวนา  และชุมชนคนพื้นเมืองซึ่งใน 5 ปีหลังนี้ได้เกิดระลอกคลื่นการเคลื่อนไหวอยู่เสมอเช่นการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในปี 2011  การเคลื่อนไหวของชาวนาปี 2013  การนัดหยุดงานของผู้ปฏิบัติงานด้านความยุติธรรมในปี 2014    และปีก่อนหน้านี้เป็นการหยุดงานในระดับชาติมีผู้เข้าร่วมนับหมื่นๆในแต่ละท้องถิ่นคนเพื่อเพิ่มค่าจ้าง...เพื่อสิทธิ์ในการศึกษา   ต่อต้านการให้สัมปทานเหมืองแร่  และป้องกันสิทธิของชาวนาและอื่นๆ
แม้ความขัดแย้งในระดับรัฐ..ระหว่างกองกำลังติดอาวุธกับนักรบจรยุทธิ์จะจบลง     แต่การเคลื่อนไหวของมวลชนจะประทุขึ้นแทน  ซึ่งจะเป็นเรื่องยากลำบากของรัฐบาลมากกว่าเรื่อง “ จัดการกับผู้ก่อการ ร้ายฟาร์ก”   การสิ้นสุดของการต่อสู้ด้วยอาวุธในโคลอมเบียมิได้หมายความว่าการต่อสู้ทางชนชั้นจะจบลงไป    หากแต่จะกลับกลายเป็นเรื่องที่ตรงกันข้าม